Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ทางสุขภาพการสนับสนุน จากหน่วยงานกับแบบแผนการดำรงชีวิต ด้านสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลของรัฐ กรุงเทพมหานคร

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Relationship between health perception, institutional support, and health related lifestyles of professional nurses, governmental hospitals, Bangkok metropolis

Year (A.D.)

1992

Document Type

Thesis

First Advisor

จินตนา ยูนิพันธุ์

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

ครุศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

การบริหารการพยาบาล

DOI

10.58837/CHULA.THE.1992.93

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแบบแผนการดำรงงชีวิตด้านสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพใน โรงพยาบาลของรัฐ กรุงเทพมหานคร และศึกษาปัจจัยที่ร่วมกันทำนายแบบแผนการดำรงชีวิตของพยาบาล วิชาชีพ ตัวพยากรณ์ได้แก่ การรับรู้อำนาจการควบคุมตนเองด้านสุขภาพ การรับรู้คุณค่าในตน การรับรู้ภาวะ สุขภาพ การสนับสนุนจากหน่วยงาน อายุ และสถานภาพสมรส ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัย เป็น พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลทั่วไปของรัฐ กรุงเทพมหานคร จำนวน 200 คน ด้วยวิธีสุ่ม ตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามประกอบด้วย แบบวัด ตัวพยากรณ์ และแบบวัดแบบแผนการดารงชีวิตด้านสุขภาพ ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเองผลการวิจัยมีดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยของแบบแผนการดำรงชีวิตด้านสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลของรัฐ กรุงเทพมหานคร มีค่าเท่ากับ 2.99 อยู่ในระดับดี ด้านส่งเสริมสุขภาพและด้านการป้องกันโรคมีค่าเฉลี่ย 3.00 และ 2.87 ตามลาดับ ซึ่งอยู่ในระดับดี 2. แบบแผนการดำรงชีวิตด้านสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพ มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลาง กับอายุ การสนับสนุนจากหน่วยงาน การรับรู้คุณค่าในตน (r = .343, .318, 304 ตามลำดับ) และ มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำกับการรับรู้ภาวะสุขภาพ และสถานภาพสมรส (r = .289 และ .205) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. การรับรู้อำนาจการควบคุมตนเองด้านสุขภาพ ไม่มีความสัมพันธ์กันแบบแผนการดำรงชีวิต ด้านสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพ 4. ตัวแปรที่มีความสำคัญในการร่วมพยากรณ์แบบแผนการดำรงชีวิตด้านสุขภาพของพยาบาล วิชาชีพตามลำดับคือ อายุ การสนับสนุนจากหน่วยงาน การรับรู้คุณค่าในตน และการรับรอำนาจความ บังเอิญด้านสุขภาพ ซึ่งร่วมกันพยากรณ์แบบแผนการดำรงชีวิตด้านสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพ ได้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติระดับ .01 ได้ร้อยละ 30.18 (R2 = .3018)

Share

COinS