Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาพิษเฉียบพลันของเมททิลพาราไธออนต่อกุ้งกุลาดำ

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Acute toxicity of methyl parathion in penaeus monodon fabricius

Year (A.D.)

1992

Document Type

Thesis

First Advisor

สุพัตรา ศรีไชยรัตน์

Second Advisor

จิรศักดิ์ ตั้งตรงไพโรจน์

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

เภสัชวิทยา

DOI

10.58837/CHULA.THE.1992.543

Abstract

ทำการศึกษาความเป็นพิษของเททิลพาราไธออนที่ขนาดความเข้มข้น 1-90 ไมโครกรัม/ลิตร (ppb) ในกุ้งกุลาดำ 7 กลุ่ม พบว่าค่า LC50 ภายใน 96 ชั่วโมง เท่ากับ 54 ppb ในขณะที่ได้รับยาฆ่าแมลง กุ้งทุกกลุ่มแสดงอาการเป็นพิษออกมา โดยมีอาการกระวนกระวาย ดีดตัวอย่างรวดเร็วเคลื่อนไหวอย่างไม่มีทิศทางที่แน่นอน กุ้งในกลุ่มที่มีความเข้มข้นสูงตายภายใน 6-24 ชั่วโมง กุ้งที่รอดตายทุกกลุ่มที่ได้รับยาฆ่าแมลง กินอาหารได้ลดน้อยละ และยังคงมีอาการกระวนกระวาย อาการแสดงของความเป็นพิษ และอัตราการตายของกุ้งที่ได้รับยาฆ่าแมลงขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของยาฆ่าแมลงที่ให้ สมรรถนะของเอ็นไซม์โฆลีนเอสเทอเรสในเลือดกุ้งที่ได้รับยาไม่สอดคล้องกับความเป็นพิษที่ได้รับ ในขณะที่สมรรถนะของเอ็นไซม์โฆลีนเอสเทอเรสในเส้นประสาท และกล้ามเนื้อลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ในทุกกลุ่ม เปอร์เซนต์ของสมรรถนะของเอ็นไซม์ที่ลดลงไปขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของเมททิลพาราไธออนที่ได้รับ จากการตรวจทางจุลพยาธิวิทยาพบว่าในความเข้มข้น 1-50 ppb เซลตับและตับอ่อน และเซลกล้ามเนื้อแสดงการตายของเซล ส่วนในกลุ่มที่ได้รับเมททิลพาราไธออน 75-90 ppb มีเลือดคั่งภายในเซลไม่พบเซลตายอาการที่แตกต่างกันเนื่องจากความเข้มข้นของเมททิลพาราไธออนที่ได้รับและระยะเวลาที่สัมผัสกับยาฆ่าแมลง ผลการทดลองที่ได้จะเห็นว่าการวัดสมรรถนะของเอ็นไซม์โฆลีนเอสเทอเรสในกล้ามเนื้อและในเส้นประสาทของกุ้งกุลาดำ ที่ลดลงไปอย่างมากเนื่องจากยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต สามารถนำมาใช้เป็นตัวบ่งชี้ ความเป็นพิษของยาฆ่าแมลงกลุ่มนี้ได้

Share

COinS