Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
บทบาทของเยื่อบุหลอดเลือดต่อการออกฤทธิ์ของสารสื่อประสาท บางชนิดในหลอดเลือดแดงที่แยกจากหัวใจและไตของสุกร
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Role of the vascular endothelium in the responsiveness of isolated porcine coronary and renal artery to some Vasoative neurotransmitters
Year (A.D.)
1992
Document Type
Thesis
First Advisor
ประสาน ธรรมอุปกรณ์
Second Advisor
สุพัตรา ศรีไชยรัตน์
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
เภสัชวิทยา
DOI
10.58837/CHULA.THE.1992.542
Abstract
ศึกษาเปรียบเทียบผลของ Acetylcholine (ACh), Noradrenaline (NA), 5-Hydroxytryptamine (5-HT) และ Dopamine ต่อการหดหรือคลายตัวของหลอดเลือด left anterior descending coronary artery และ renal artery ของสุกรที่แยกออกมา ทั้งชนิดที่มีและไม่มี endothelium พบว่า ACh (1x10ˉ⁶M) ACh มีผลทำให้หลอดเลือดแดงไตปกติคลายตัว แต่จะทำให้หลอดเลือดที่ไม่มี endothelium หดรัดตัวและยับยั้งได้ด้วย Atropine NA (1x10ˉ⁶ - 10ˉ⁴M) ทำให้หลอดเลือดหัวใจปกติคลายตัวเล็กน้อย แต่ในหลอดเลือดที่หดตัวก่อนด้วย ACh พบว่า NA จะทำให้คลายตัวได้ชัดเจนทั้งชนิดที่มีและไม่มี endothelium การคลายตัวนี้ยับยั้งไม่ได้ด้วย Yohimbine (5x10ˉ⁴M ) ยับยั้งได้เล็กน้อยด้วย Prazosin (1x10ˉ⁶ M) และยับยั้งได้ชัดเจนด้วย Prapranolol (1x10ˉ⁴M) ในหลอดเลือดที่มีและไม่มี endothelium NA มีผลทำให้หลอดเลือดไตที่ไม่มี endothelium หดรัดตัวได้มากกว่าชนิดที่มี endothelium และ Prazosin (1x10ˉ⁶) ยับยั้งได้เด่นชัดมากกว่า Yohimbine (5x10ˉ⁴M) Propranolol (1x10ˉ⁴M) ยับยั้งการหดรัดตัวได้น้อยกว่า Yohimbine 5-HT ออกฤทธิ์ทำให้หลอดเลือดหัวใจหดรัดตัวได้ตามขนาดที่ให้ หลอดเลือดที่ไม่มี endothelium จะตอบสนองได้มากกว่ามี endothelium และพบว่าถูกยับยั้งได้เด่นชัดด้วย Ketanserin (2.53x10ˉ²M) ทั้งชนิดที่มีและไม่มี endothelium 5-HT มีผลทำให้หลอดเลือดไดคลายตัวเล็กน้อยเมื่อให้ปริมาณน้อย ๆ แต่เมื่อเพิ่มขนาดสูงขึ้นจะทำให้หดรัดตัวซึ่งให้ผลคล้ายกันทั้งชนิดที่มีและไม่มี endothelium และยับยั้งได้ด้วย Ketanserin Dopamine ไม่มีผลทำให้เกิดการคลายตัว ทั้งในหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดไตเมื่อให้ขนาดต่ำ ๆ แต่พบการหดรัดตัวเมื่อให้ขนาดที่สูง 1x10ˉ⁴ -10ˉ³M ในหลอดเลือดหัวใจ พบว่า Droperidol 1x10ˉ⁵M นอกจากจะสามารถยังยั้งผลการหดรัดตัวของหลอดเลือดแล้ว ยังพบการคลายตัวของหลอดเลือด เมื่อให้ Dopamine ในขนาดสูง ซึ่งคล้ายกันทั้งที่มีและไม่มี endothelium ในหลอดเลือดไต Prazosin (1x10ˉ⁶M) ยับยั้งการหดรัดตัวได้ชัดเจนในหลอดเลือดที่มีและไม่มี endothelium Droperidol ไม่มีผลยับยั้งการหดรัดตัวในหลอดเลือดที่มี endothelium แต่ยับยั้งได้ในหลอดเลือดที่ไม่มี endothelium ซึ่งมีผลน้อยกว่า Prazosin. ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า เยื่อบุหลอดเลือดมีความสำคัญต่อการตอบสนองของสารสื่อประสาทที่ออกฤทธิ์ในหลอดเลือดแดงที่หัวใจและไตของสุกร จากรูปแบบการศึกษานี้ทำให้ทราบกลไกการออกฤทธิ์ของยาและสารสื่อประสาทต่อหลอดเลือดซึ่งมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการศึกษาการใช้ยาเพื่อรักษาผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของหลอดเลือดได้
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
อิงคนุวัฒน์, อรชร, "บทบาทของเยื่อบุหลอดเลือดต่อการออกฤทธิ์ของสารสื่อประสาท บางชนิดในหลอดเลือดแดงที่แยกจากหัวใจและไตของสุกร" (1992). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 38483.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/38483