Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาถึงการตอบสนองของหลอดเลือดแดงไตวัวที่แยกจากกายต่อสารที่มีผลต่อหลอดเลือด

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Study on the responsiveness of isolated bovine renal artery to vasoactive substances

Year (A.D.)

1992

Document Type

Thesis

First Advisor

สุพัตรา ศรีไชยรัตน์

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

เภสัชวิทยา

DOI

10.58837/CHULA.THE.1992.538

Abstract

ได้นำหลอดเลือดแดงจากไตของวัวที่แยกจากกายมาเป็นรูปแบบในการศึกษาการตอบสนองทางเภสัชวิทยาของหลอดเลือดแดงต่อสารที่มีผลต่อหลอดเลือด 9 ชนิด และบทบาทของเยื่อบุผนังหลอดเลือดในการตอบสนองของหลอดเลือดต่อสารเหล่านี้ จากผลการทดลองพบว่านอร์อะดรีนาลีน ฮีสตามีน ซีโรโทนิน และแคลเซียมคลอไรด์ ทำให้หลอดเลือดหดตัว ในขณะที่อะเซทิย์ลโคลีน ไอโซโปรเทอรินอล ไฮดราลาซีน และปาปาเวอรีน ทำให้เนื้อเยื่อนี้คลายตัว ส่วนโดปามีนมีผลสองขั้นตอน คือ ในขนาดความเข้มข้นต่ำๆ ทำให้หลอดเลือดคลายตัวและมีการหดตัวของหลอดเลือดเมื่อมีความเข้มข้นของโดปามีนสูงขึ้น ผลที่เกิดขึ้นนี้ยับยั้งได้ด้วยสารต้านฤทธิ์จำเพาะของรีเซ็พเตอร์ที่เกี่ยวข้อง การขูดเยื่อบุผนังหลอดเลือดออก มีผลลดการหดตัวของหลอดเลือดเนื่องจากฮีสตามีนและมีผลเพิ่มการหดตัวของหลอดเลือดเนื่องจากโดปามีน แต่ไม่มีผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อนอร์อะดรีนาลีน และซีโรโทนิน ส่วนสารที่มีผลทำให้หลอดเลือดคลายตัวพบว่าการขูดเยื่อบุผนังหลอดเลือดออก มีผลลดการคลายตัวของหลอดเลือด เนื่องจากอะเซทิย์ลโคลีนและไฮดราลาซีน แต่ไม่มีผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อการคลายตัวของหลอดเลือด เนื่องจากไอโซโปรเทอรินอล และไม่มีผลใดๆ ต่อการคลายตัวของหลอดเลือดเนื่องจากปาปาเวอรีน การตอบสนองของหลอดเลือดที่ไม่มีเยื่อบุผนังหลอดเลือดมีรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไปจากหลอดเลือดที่มีเยื่อบุผนังหลอดเลือดเมื่อได้รับสารต้านฤทธิ์ โดยเห็นผลการยับยั้งเด่นชัดขึ้น (นอร์อะดรีนาลีน-พราโซซิน และซีโรโทนิน-คีแทนเซริน) และเพิ่มการตอบสนองของหลอดเลือด (ฮีสตามีน-คลอร์เฟนิรามีน และซัยเมทิดีน อะเซทิย์ลโคลีน-อะโทรปีน และไฮดราลาซีน-โปรปราโนลอล) อาจสรุปได้ว่าการตอบสนองของหลอดเลือดแดงไตวัว ต่อสารที่มีผลต่อหลอดเลือดมีแบบแผนที่เป็นลักษณะเฉพาะตัวและแตกต่างจากหลอดเลือดบริเวณอื่นๆ ที่มีการศึกษามาก่อนและเยื่อบุผนังหลอดเลือดมีบทบาทจำเป็นในการตอบสนองของหลอดเลือดต่อยาที่มีผลต่อหลอดเลือดบางชนิด จึงน่าที่จะมีการพิจารณาและศึกษาต่อไปถึงผลของยาที่อาจเกิดขึ้นได้เมื่อต้องใช้ยาในผู้ป่วยที่หลอดเลือดมีลักษณะทางพยาธิสภาพเปลี่ยนแปลงไป

Share

COinS