Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การผลิตอาหารกุ้งกุลาดำ (Penaeus monodon Fabricius) วัยรุ่น

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Production of feed for juvenile giant tiger prawn Penaeus monodon Fabricius

Year (A.D.)

1992

Document Type

Thesis

First Advisor

ชัยยุทธ ธัญพิทยากุล

Second Advisor

พันธิพา จันทวัฒน์

Third Advisor

เปี่ยมศักดิ์ เมนะเศวต

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

เทคโนโลยีทางอาหาร

DOI

10.58837/CHULA.THE.1992.529

Abstract

ในงานวิจัยนี้ได้ศึกษาการผลิตอาหารกุ้งกุลาดำวัยรุ่นด้วย เครื่องบดอาหารและเครื่อง pel letmill โดยการผลิตอาหารกุ้งด้วยเครื่องบดอาหาร ได้ศึกษาชนิดและปริมาณสารเชื่อมที่เหมาะสมสำหรับการผลิตอาหารกุ้งโดยแปรชนิดของสารเชื่อม 8 ชนิด ชนิดละ 3 ระดับได้แก่ wheat gluten (5, 10 และ 15%), lignosulfonate (1, 2 และ 3%), guar gum (1, 2 และ 3%), cross-linking tapioca starch (2.5, 5 และ 7.5%), cross-linking and hyaroxypropylated tapioca starch (2.5, 5 และ 7.5%), acetylated distarch phosphate (2.5, 5 และ 7.5%), modified waxy-maize starch (2.5, 5 และ 7.5%) และ Isolated Soy Protein (ISP) ผลมกับ α-starch (ในอัตราส่วน 10%:0%, 10%:3% และ 7%:3%) เลือกชนิดและปริมาณสารเชื่อมที่ทำให้อาหารมีความคงตัวในน้ำสูง และ/หรือ มีต้นทุนในการผลิตต่ำรวม 3 ชนิดคือ cross- linking tapioca starch 2.5% lignosulfonate 1% และ ISP 10% ผลิตอาหารโดยใช้สารเชื่อมทั้ง 3 ชนิดที่คัดเลือกไว้ปรับสูตรอาหารให้มีปริมาณโปรตีนและไขมันในสูตรเท่ากันคือ 40% และ 7% ตามลำดับ นำอาหารที่ผลิตได้มาเลี้ยงกุ้งกุลาดำวัยรุ่นเปรียบเทียบกับอาหารที่ใช้ปลาเป็ด 40% และ อาหารที่ใช้ sodium alginate กับ sodium hexametaphosphate อย่างละ 1.5% และ 1% เป็นแหล่งโปรตีนและ/หรือสารเชื่อม เป็นเวลา 45 วัน เก็บข้อมูลด้านการเจริญเติบโต (ความยาว น้ำหนัก) ทุกสัปดาห์ และข้อมูลด้านปริมาณอาหารที่กุ้งกินทุกวัน ขณะเลี้ยงควบคุมคุณภาพน้ำที่ใช้ในการเลี้ยง พบว่า องค์ประกอบของสูตรอาหารมีผลต่อการเจริญเติบโตของกุ้งอย่างมีนัยสำคัญ (P≤<0.05) สูตรอาหารที่ให้อัตราการเจริญเติบโตสูงสุดคือสูตรที่ใช้ cross-linking tapioca starch 2.5% และ lignosulfonate 1% เป็นสารเชื่อม ส่วนค่าอัตราแลกเนื้อ พบว่าสูตรที่ผสมปลาเป็ดเป็นสูตรที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ภาวะ การผลิตอาหารกุ้งด้วยเครื่อง pellet mill คือปริมาณ cross-linking tapioca starch 2.5% ความชื้นของวัสดุอาหารก่อนเข้าเครื่อง 10% และเวลาให้ความร้อนด้วยไอน้ำหลังการ อัดเม็ดนาน 5 นาทีนำอาหารที่ผลิตได้มาเลี้ยงกุ้งกุลาดำวัยรุ่นเปรียบเทียบกับอาหารที่ใช้ wheat gluten 5% ส่วนผสมของ wheat gluten 2.5% กับ cross-1 inking tapioca starch 2.5% อาหารที่ ผลิตเชิงการค้า พบว่าสูตรอาหารที่ให้การเจริญสูงสุดคือ สูตรที่ใช้ cross-linking tapioca starch 2.5% และ wheat gluten 5% ส่วนอัตราการรอดและอัตราแลกเนื้อแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญ (P ≥ 0.05)

Share

COinS