Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การหมักสารตั้งต้นสถานะของแข็งแบบไม่ใช้ออกซิเจน โดยการหมุนเวียนของเหลวกลับมาใช้

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Anaerobic solid3subsirate fermentation with liquid recycling operation

Year (A.D.)

1992

Document Type

Thesis

First Advisor

เพียรพรรค ทัศคร

Second Advisor

สุเมธ ชวเดช

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

เทคโนโลยีชีวภาพ

DOI

10.58837/CHULA.THE.1992.523

Abstract

กระบวนการย่อยสลายของแข็งเพื่อเปลี่ยนเป็นแก๊สชีวภาพนี้ ได้เน้นการวิจัยในขั้นตอน กระบวนการย่อยสลายของแข็ง โมเลกุลเล็กที่ไม่ละลายน้ำไปเป็นสารโมเลกุลเล็กที่ละลายน้ำได้ ซึ่งสารโมเลกุลเล็กที่ละลายน้ำได้เหล่านี้สามารถนำมาใช้ในการผลิตแก๊สชีวภาพ หรือต้องการเปลี่ยนแปลงเป็น สารเคมีอื่น ๆ ในขั้นตอนต่อไป ซึ่งวิธีการนี้จะดีกว่าวิธีการผลิตโดยตรงจากสารของแข็ง ในงานวิจัยนี้ เลือกใช้เปลือกมันฝรั่งจากโรงงานแปรรูปมันฝรั่งทอดกรอบเป็นวัตถุดิบ จุดประสงค์ของงานวิจัยนี้คือ การศึกษาปริมาณของแข็งเริ่มต้นที่มีผลต่อการย่อยสลายของแข็งและการผลิตแก๊สชีวภาพ โดยได้ทดลอง แปรค่าปริมาณของแข็งเริ่มต้นช่วง 3-12 % พบว่าที่ปริมาณของแข็งเริ่มต้น 5% ให้ผลการทดลองที่ดีที่ สุดโดยระบบสามารถย่อยสลายของแข็งได้ 85 % และผลิตแก๊สชีวภาพได้ตลอดการทดลอง 1.38 ลิตร /ลิตรของขนาดถังปฏิกรณ์/วัน นอกจากนั้นได้ทดลองแปรค่าปริมาณน้ำที่ใช้หมุนเวียนในระบบที่อัตรา 1.47 2.94 และ 4.41 ลิตร/ลิตรของถังปฏิกรณ์/วัน ผลปรากฏว่าที่อัตราการไหลเวียนค่าต่าง ๆ นี้ไม่มี ผลต่อการย่อยสลายของของแข็งและอัตราการผลิตแก๊สชีวภาพ สำหรับการเปรียบเทียบค่าจุลินทรีย์ เริ่มต้นในระบบที่ 20,000 40,000 และ 60,000 มิลลิกรัม/ลิตร ผลปรากฏว่าทำให้อัตราการ ย่อยสลายเร็วขึ้นแต่ไม่มีผลต่อการผลิตแก๊สชีวภาพ

Share

COinS