Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
กรดมะนาวจากนอร์มัล พาราฟฟินส์โดยวิธีการหมักในอาหารเหลวด้วยยีสต์
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Liquid state fermentation of citric acid from n-peraffin by yeasts
Year (A.D.)
1992
Document Type
Thesis
First Advisor
วินิจ ชำวิวรรธน์
Second Advisor
ส่งศรี กุลปรีชา
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
เทคโนโลยีชีวภาพ
DOI
10.58837/CHULA.THE.1992.519
Abstract
จากการคัดเลือกเชื้อยีสต์ 25 สายพันธุ์ พบว่ามียีสต์จำนวน 16 สายพันธุ์ที่เจริญและผลิตกรดและมีเพียง 7 สายพันธุ์ ที่สามารถผลิตกรดมะนาวได้ในอาหารที่มีนอร์มัล พาราฟฟินส์เป็นแหล่งของคาร์บอน นอกจากนี้ยังพบว่า Candida oleophila C-73 เป็นส่ายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตกรดมะนาวสูงสุดเท่ากับ 29.5 กรัม/ลิตร องค์ประกอบของอาหารเลี้ยงเชื้อที่เหมาะสมเมื่อหมักด้วย Candida oleophila C-73 แล้วให้ผลผลิตกรดมะนาว 131.5 ก.ม/ลิตร นั้น ใช้นอร์มัล พาราฟฟินส์ชนิด Exxpar-451 ร้อยละ 10 (น้ำหนัก/ปริมาตร) เป็นแหล่งคาร์บอน แอมโมเนียมไนเตรตความเข้มข้นร้อยละ 0.2 (น้ำหนัก/ปริมาตร) เป็นแหล่งไนโตรเจน และโปตัสเซียมไดไฮโดรเจนฟอสเฟต และแมกเนเซียมซัลเฟตเฮปตาไฮเดรตความ เข้มข้นร้อยละ 0.01 และ 0.05 (น้ำหนัก/ปริมาตร) ตามลำดับ และเสริมด้วยแมงกานีสซัลเฟตโมโนไฮเดรตร้อยละ 0.02 (น้ำหนัก/ปริมาตร) สารสกัดจากยีสต์ร้อยละ 0.1 (น้ำหนัก/ปริมาตร) และแคลเซียมคาร์บอนเนตร้อยละ 10 (น้ำหนัก/ปริมาตร) เป็นสารควบคุมค่าความเป็นกรดด่างในการหมักเติมสารแยกการควบคู่คือ 2,4 -ไดไนโตรพีนอล ความเข้มข้นร้อยละ 0.001 (น้ำหนัก/ปริมาตร) หลังการหมักนาน 24ชั่วโมง โดยใช้สภาวะที่เหมาะสมในการหมัก คือที่อุณหภูมิ 25°ซ. เขย่าให้อากาศแบบวงกลมด้วยความเร็ว 300 รอบ/นาที ใช้เวลาในการหมักเพื่อให้ได้ผลผลิตกรดมะนาวสูงสุดนาน 6 วัน
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
เลิศไตรรักษ์, เรวดี, "กรดมะนาวจากนอร์มัล พาราฟฟินส์โดยวิธีการหมักในอาหารเหลวด้วยยีสต์" (1992). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 38453.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/38453