Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การเพาะเลี้ยงสาหร่ายเกลียวทองเพื่อใช้เป็นอาหาร สำหรับกุ้งกุลาดำวัยอ่อน
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Cultivation of spirulina as feed for Penaeus monodon Fabricius Larvae
Year (A.D.)
1992
Document Type
Thesis
First Advisor
เปี่ยมศักดิ์ เมนะเศวต
Second Advisor
ประกิตติ์สิน สีหนนทน์
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
เทคโนโลยีชีวภาพ
DOI
10.58837/CHULA.THE.1992.517
Abstract
ผลการคัดเลือกสาหร่ายเกลียวทองจาก 3 สายพันธุ์ พบว่าสายพันธุ์สวนจิตรลดามีอัตราการเจริญ ผลผลิตน้ำหนักแห้ง ปริมาณโปรตีนและปริมาณไขมันสูงกว่าสายพันธุ์บึงมักกะสันและสายพันธุ์วัดเบญจมบพิตรแต่ไม่มีนัยสำคัญ (P≤0.05) ผลการวัดรูปร่าง trichome ของสาหร่าย พบว่ามีลักษณะคล้ายคลึงกัน ดังนั้นจึงเลือกสายพันธุ์สวนจิตรลดา เพื่อใช้ในการศึกษาสูตรอาหารที่เหมาะสมจาก 4 สูตร ได้แก่ สูตร Zarrouk CFTRI น้ำทะเลเทียม และน้ำทะเลธรรมชาติ พบว่าสาหร่ายมีอัตราการเจริญไม่แตกต่างกันทางสถิติในทุกสูตรอาหาร แต่ลักษณะผลผลิตของสาหร่ายที่เลี้ยงในสูตร CFTRI และสูตรน้ำทะเลเทียมมีตะกอนเกลือปนอยู่ ซึ่งแก้ไขโดยการใช้ก๊าซ CO₂ เป็นแหล่งคาร์บอนแทนแหล่งคาร์บอนเดิมที่ใช้สารเคมี เมื่อเปรียบเทียบปริมาณโปรตีน ชนิดและปริมาณของกรดอะมิโน ปริมาณไขมันชนิดและปริมาณของกรดไขมันในสาหร่าย พบว่าสาหร่ายที่เลี้ยงในทุกสูตรอาหารมีคุณภาพใกล้เคียงกัน แต่เมื่อพิจารณาถึงต้นทุนของสูตรอาหารจะเห็นว่าสูตรน้ำทะเลเทียมมีการใช้สารเคมีน้อยชนิดและมีราคาถูกรวมทั้งสะดวกในทางปฏิบัติเมื่อทำการเพาะเลี้ยงในปริมาณมาก ผลการเพาะเลี้ยงสาหร่ายในบ่อสภาพกลางแจ้ง โดยใช้สูตรน้ำทะเลเทียมและให้ก๊าซ CO₂ เป็นแหล่งคาร์บอน พบว่า สาหร่ายสามารถเจริญเติบโตได้ แต่อัตราการเจริญต่ำกว่าในระดับห้องปฏิบัติการค่อนข้างมาก ผลผลิตของสาหร่ายที่ทำแห้งด้วยวิธี Freeze drying มีปริมาณโปรตีนและไขมันสูงกว่าสาหร่ายที่ทำแห้งด้วยวิธีอื่น และสามารถนำมาใช้เลี้ยงกุ้งกุลาดำวัยอ่อนร่วมกับการใช้อาหารธรรมชาติในอัตราส่วนของ Chaetoceros : Spirulina เท่ากับ 75 : 25 โดยลูกกุ้งมีอัตราการรอดสูงเทียบเท่ากับการใช้อาหารธรรมชาติเพียงอย่างเดียว
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
อภิชัยเสถียรโชติ, บุษยา, "การเพาะเลี้ยงสาหร่ายเกลียวทองเพื่อใช้เป็นอาหาร สำหรับกุ้งกุลาดำวัยอ่อน" (1992). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 38451.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/38451