Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จลนพลศาสตร์การสลายตัวของกำมะถันในถ่านหินระหว่างคาร์บอไนเซชั่น

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Kinetics of coal sulphur decomposition during carbonization

Year (A.D.)

1992

Document Type

Thesis

First Advisor

สมชาย โอสุวรรณ

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

เคมีเทคนิค

DOI

10.58837/CHULA.THE.1992.512

Abstract

อุณหภูมิและเวลาที่คาร์บอไนซ์ มีผลต่อการสลายตัวของกำมะถันในถ่านหิน โดยทำการทดลองคาร์บอนไนซ์ถ่านหิน 2 แหล่ง คือ แม่เมาะและบางปูดำ อุณหภูมิที่คาร์บอไนซ์ 400 | 450 | 500 | 600 และ 700℃ เวลาคาร์บอไนซ์ 0 | 10 | 20 | 30 | 60 และ 90 นาที พบว่าเมื่อเพิ่มอุณหภูมิและเวลาที่คาร์บอไนซ์ กำมะถันรวม กำมะถันซัลเฟต และกำมะถันไพไรต์ในถ่านหินจะสลายตัวได้เพิ่มขึ้น ในถ่านหินแม่เมาะกำมะถันไพไรต์และกำมะถันซัลเฟตสลายตัวอย่างสมบูรณ์ที่อุณหภูมิ 500℃ เวลา 90 นาที และ 600℃ เวลา 10 นาที ตามลำดับ ส่วนในถ่านหินบางปูดำ กำมะถันไพไรต์และกำมะถันซัลเฟตสลายตัวอย่างสมบูรณ์ที่ 700 ℃ เวลา 20 นาที และ 10 นาที ตามลำดับ บางส่วนของกำมะถันซัลเฟตและกำมะถันไพไรต์ สลายตัวไปอยู่ในรูปกำมะถันซัลไฟต์ ทำให้พบกำมะถันซัลไฟต์เพิ่มขึ้นที่อุณหภูมิ และเวลาคาร์บอไนซ์สูงขึ้น สำหรับการสลายตัวของกำมะถันอินทรีย์ พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก เมื่อเพิ่มอุณหภูมิและเวลาคาร์บอไนซ์ให้สูงขึ้น พบว่าอัตราเร็วปฏิกิริยาการสลายตัวของกำมะถันรวม กำมะถันซัลเฟต และกำมะถันไพไรต์เป็นปฏิกิริยาอันดับสอง หนึ่ง และหนึ่ง ตามลำดับ สำหรับถ่านหินทั้งสองแหล่ง

Share

COinS