Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

องค์ประกอบทางเคมีของรากประยงค์ (Aglaia odorata Lour.)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Chemical constituents of aglaia odorata Lour. Root

Year (A.D.)

1992

Document Type

Thesis

First Advisor

อุดม ก๊กผล

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

เคมี

DOI

10.58837/CHULA.THE.1992.505

Abstract

นำรากประยงค์แห้งบดเป็นชิ้นเล็กมาสกัดด้วยเมธานอลได้สิ่งสกัดหยาบด้วยเมธานอล นำสิ่งสกัดหยาบด้วยเมธานอลมาสกัดต่อด้วย เฮกเซน ไดคลอโรมีเธน เอธิลอะซีเตต และบิวธานอล ตามลำดับ นำสิ่งสกัดหยาบที่ได้จากการสกัดด้วยตัวทำละลายดังกล่าวมาแยกโดยใช้เทคนิคทางโครมาโทกราฟี แยกสารได้ 4 ชนิด คือ ของผสมสเตอรอยด์ (campesterol, stigmasterol และ β–sitosterol), ของผสมสเตอรอยด์กลัยโคไซด์ (campesteryl-3-0-glucopyranoside, stigmasteryl-3-0-glucopyranoside และ β–sitosteryl-3-0-gluocopyranoside), ของผสมแอลกอฮอล์โซ่ตรง (C[subscript 24]-C[subscript 28]) และสารที่มีสูตร C[subscript 31]H[subscript 28]N[subscript 2]O[subscript 6] จุดหลอมเหลว 256-257℃ จากข้อมูลสเปกโทรสโกปีของสารสุดท้ายสามารถเสนอสูตรโครงสร้าง I ซึ่งพบว่ายังไม่มีรายงานมาก่อน [ภาพสูตรทางเคมี]

Share

COinS