Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จำนวน Langerhans cell ในบริเวณต่างกันของเยื่อบุช่องปากปกติในคนไทย

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Quantitative assessment of langerhans cell in regional variation of normal oral mucosa in Thai people

Year (A.D.)

1991

Document Type

Thesis

First Advisor

พรทิพย์ หุยประเสริฐ

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

อายุรศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.1991.686

Abstract

จำนวน Langerhans cells ในบริเวณเยื่อบุช่องปากปกติในคนไทยจำนวน 23 คน โดยใช้ modified ATPase technique และ peroxidase conjugated avidin staining method with monoclonal antibody OKT6 พบว่าบริเวณ palate ซึ่งเป็น keratinized area มีจำนวน LC ต่างจากบริเวณอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p = 0.05 โดยเมื่อคิดต่อพื้นที่ย้อมด้วย ATPase แล้ว palate มี LC = 308.72 ±61.15 (mean ± S.D.) buccal mucosa = 587.69 ± 110.85 upper labial mucosa = 591.99 ± 108.40 และ lower labial mucosa = 591.00 ± 110.80 เซล/ตารางมิลลิเมตร หรือเมื่อคิดต่อความยาว epidermis แล้ว palate มี LC = 19.93 ± 6.57 buccal mucosa = 32.58 ± 13.17 upper labial mucosa = 35.81 ± 14.31 lower labial mucosa = 34.30 ± 17.49 เซล/มิลลิเมตร การกระจายตัวของเซลเป็น discrete pattern บริเวณ patate พบอยู่ที่ mid-stratum malpighii ส่วนบริเวณ buccal, upper และ lower labial mucosa พบมากบริเวณ basal และ suprabasal layerนอกจากนี้ยังได้ทำการศึกษาเพิ่มเติมที่บริเวณริมฝีปากบนและล่าง ใบหน้า หน้าอก แขนส่วนปลายด้านในและนอก และฝ่ามือ พบว่าบริเวณฝ่ามือมี LC น้อยกว่าบริเวณอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนบริเวณอื่นมี LC ไม่แตกต่างกันคือ เฉลี่ยประมาณ 200-650 เซล/ตารางมิลลิเมตร หรือ 8-35 เซล/มิลลิเมตร

Share

COinS