Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเริ่มมีเพศสัมพันธ์หลังคลอดบุตรของสตรีไทย

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Resumption of sex after childbirth among Thai women

Year (A.D.)

1991

Document Type

Thesis

First Advisor

เกื้อ วงศ์บุญสิน

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

สังคมวิทยามหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

DOI

10.58837/CHULA.THE.1991.804

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแบบแผนการเริ่มมีเพศสัมพันธ์หลังคลอดบุตรและความแตกต่างในลักษณะประชากร เศรษฐกิจและสังคมกับการเริ่มมี เพศสัมพันธ์หลังคลอดบุตรของสตรีไทย โดยใช้ข้อมูลของโครงการการสำรวจประชากรและการอนามัยในประเทศไทย พ.ศ.2530 (TDHS) หน่วย ตัวอย่างที่ศึกษาคือสตรีที่ เคยสมรสอายุระหว่าง 15-49 ปี และมีบุตรคนล่าสุด เกิดในช่วง 5 ปีก่อนการ สำรวจ คือเกิดตั้งแต่ มกราคม พ.ศ.2530 เป็นต้นมาจนถึงวันสำรวจ รวมจำนวนตัวอย่างทั้งหมด 2,989 ราย โดยเป็นการวิเคราะห์ด้วยวิธีการตารางชีพ ซึ่งตารางชีพจะแสดงสัดส่วนสะสมของสตรีที่ เริ่มมีเพศสัมพันธ์หลังคลอดบุตรตาม เดือนที่เริ่มมี เพศสัมพันธ์หลังคลอด ผลการวิจัยทบแบบแผนการ เริ่มมีเพศสัมพันธ์หลังคลอดบุตรของสตรีไทยโดยทั่วไป กล่าวคือ สตรีเกือบทั้งหมดคือร้อยละ 94.4 เริ่มมีเพศสัมพันธ์ภายใน 12 เดือนหลังคลอด และร้อยละ 19.3 เริ่มมีเพศสัมพันธ์ภายใน 2 เดือนหลังคลอด โดยพบว่าระยะ เวลามัธยฐานของการเริ่มมี เพศสัมพันธ์หลังคลอดบุตรมี ระยะเวลาประมาณ 3 เดือน และพบแบบแผนความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างการเริ่มมีเพศสัมพันธ์ภายใน 2 เดือนหลังคลอด กับตัวแปรทางประชากรที่นำมาศึกษา ซึ่งได้แก่ ตัวแปรอายุของสตรีเมื่อคลอดบุตร คนล่าสุด ระยะเวลาสมรส การใช้การคุมกำเนิดหลังคลอด การมีประจำเดือนหลังคลอด และการให้นมตนเองแก่บุตรหลังคลอด กล่าวคือ สตรีที่มีอายุน้อย เมื่อคลอดบุตรคนล่าสุด เริ่มมี เพศสัมพันธ์ เร็วกว่าสตรีที่มี อายุมาก เมื่อคลอดบุตรคนล่าสุด สตรีที่มีระยะเวลาสมรสน้อยเริ่มมี เพศสัมพันธ์เร็วกว่าสตรีที่มีระยะ เวลาสมรสมาก สตรีที่มีการใช้การคุมกำเนิดหลังคลอด เริ่มมี เพศสัมพันธ์เร็วกว่าสตรีที่ไม่มีการใช้การคุมกำเนิดหลังคลอด สตรีที่ยังไม่มีประจำเดือนหลังคลอด เริ่มมีเพศสัมพันธ์ เร็วกว่าสตรีที่มีประจำ เดือนแล้วหลังคลอด และสตรีที่ให้นมตนเองแก่บุตรหลังคลอด เริ่มมีเพศสัมพันธ์เร็วกว่าสตรีที่ไม่ได้ให้นมตนเองแก่บุตรหลังคลอด สำหรับแบบแผนความสัมพันธ์ความแตกต่างในลักษณะทางสังคมและ เศรษฐกิจ กับการเริ่มมีเพศสัมพันธ์หลังคลอดของสตรีไทย พบแบบแผนความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างการเริ่มมี เพศสัมพันธ์ภายใน 2 เดือน หลังคลอด กับตัวแปรทางสังคมและ เศรษฐกิจ อันได้แก่ ตัวแปรศาสนา เขตที่อยู่อาศัย ภาค ภาษา อาชีพ ปัจจุบัน และระดับความมั่งคั่งของครัวเรือน กล่าวคือ สตรีที่นับถือศาสนาพุทธเริ่มมีเพศสัมพันธ์ เร็วกว่าสตรีที่นับถือศาสนาอิสลาม คริสต์ และอื่นๆ สตรีที่อาศัยอยู่ในเขตชนบทเริ่มมีเพศสัมพันธ์เร็วกว่าสตรีที่อาศัยอยู่ใน เขต เมือง สตรีในภาค เหนือ เริ่มมีเพศสัมพันธ์ เร็วกว่าสตรีในภาคอื่น สตรีที่พูดภาษา เหนือและภาษาอีสานเริ่มมี เพศสัมพันธ์ เร็วกว่าสตรีที่พูดภาษาอื่น ซึ่งความสัมพันธ์ยังคง เหมือน เดิม เมื่อควบคุมตัวแปรภาษาด้วยตัวแปรการ ใช้การคุมกำเนิดหลังคลอด สตรีที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เริ่มมีเพศสัมพันธ์เร็วกว่าสตรีที่ประกอบอาชีพ นอกภาค เกษตรกรรม และสตรีที่มีระดับความมั่งคั่งของครัวเรือนต่ำเริ่มมีเพศสัมพันธ์เร็วกว่าสตรีที่มีระดับความมั่งคั่งของครัวเรือนสูง ในส่วนของแบบแผนความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทางประชากรคือ จำนวนบุตรที่มีชีวิต และตัวแปร ทางสังคมคือ ระดับการศึกษา กับการ เริ่มมีเทศสัมพันธ์ภายใน 2 เดือนหลังคลอด พบว่า ความสัมพันธ์เป็น ไปได้ทั้ง 2 ทิศทาง กล่าวคือ สตรีที่มีบุตรที่มีชีวิตจำนวนน้อยอาจจะ เริ่มมี เพศสัมพันธ์ทั้งเร็วหรือช้ากว่าสตรีที่มีบุตรที่มีชีวิตจำนวนมาก ซึ่งความสัมพันธ์นี้ยังคงเติม เมื่อควบคุมด้วยตัวแปรอายุ เมื่อคลอดบุตรคนล่าสุด และ สตรีที่ได้รับการศึกษาต่ำอาจจะเริ่มมี เพศสัมพันธ์ทั้งเร็วหรือช้ากว่าสตรีที่ได้รับการศึกษาสูง

Share

COinS