Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การเปลี่ยนแปลงในสาเหตุการตายกับระดับภาวะการตายตามกลุ่มอายุและเพศ ของประชากรไทย, 2504-2529
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Changes in causes of death and the levelo of mortality by age and sex in thailand 1961-1986
Year (A.D.)
1991
Document Type
Thesis
First Advisor
เพ็ญพร ธีระสวัสดิ์
Second Advisor
เทียนฉาย กีระนันทน์
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
สังคมวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
สังคมวิทยา
DOI
10.58837/CHULA.THE.1991.800
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงระดับภาวะการตายของประชากรในช่วงปี พ.ศ.2504-2529 และศึกษาอิทธิพลของสาเหตุการตายที่มีต่อระดับภาวะการตายตามกลุ่มอายุและเพศของประชากรในช่วงเวลาเดียวกัน โดยใช้ข้อมูลจากโครงการศึกษาแบบแผนการเจ็บป่วยและการตายของประชากรไทย ซึ่งรวบรวมข้อมูลจำนวนการตายรวม จำนวนการตายจำแนกตามอายุ เพศและสาเหตุในช่วงปี พ.ศ.2504-2529 ผลการศึกษานี้พบว่าระดับภาวะการตายของประชากรไทยซึ่งวัดจากอัตราตายได้ลดต่ำลงโดยลำดับโดยอัตราตายของประชากรเพศชายลดลงมากกว่าอัตราตายของประชากรเพศหญิง และเมื่อพิจารณาอัตราตายเฉพาะอายุพบว่าอัตราตายของประขากรในกลุ่มอายุต่ำกว่า 1 ปีลดลงมากที่สุด และการลดลงของอัตราตายเฉพาะอายุนี้จะลดน้อยลงตามอายุที่สูงขึ้น สำหรับการเปลี่ยนแปลงสาเหตุการตายที่สำคัญของประชากรไทยนั้นพบว่าอัตราตายด้วยสาเหตุการตายในกลุ่มโรคติดเชื้อได้ลดลง ขณะที่อัตราตายด้วยสาเหตุการตายในกลุ่มที่ไม่ใช่โรคติดเชื้อได้เพิ่มสูงขึ้น เมื่อพิจารณาอัตราตายเฉพาะสาเหตุจำแนกตามอายุและเพศพบว่าอัตราตายเฉพาะสาเหตุในกลุ่มโรคติดเชื้อ เช่น อัตราตายด้วยโรคติดเชื้อ อัตราตายด้วยโรคระบบหายใจ และอัตราตายด้วยโรคระบบย่อยอาหารได้ลดต่ำลง โดยแทบจะไม่มีความแตกต่างระหว่างเพศในทุกกลุ่มอายุ ยกเว้นกลุ่มอายุ 65 ปีขึ้นไปซึ่งอัตราตายด้วยโรคระบบย่อยอาหารและอัตราตายด้วยโรคระบบหายใจได้เพิ่มสูงขึ้น ส่วนอัตราตายเฉพาะสาเหตุในกลุ่มที่ไม่ใช่โรคติดเชื้อ เช่น อัตราตายด้วยโรคระบบไหลเวียนเลือด และอัตราตายด้วยโรคเนื้องอกและมะเร็งได้เพิ่มสูงขึ้นในทุกกลุ่มอายุ โดยอัตราตายด้วยโรคระบบไหลเวียนเลือดของประชากรเพศชายเพิ่มขึ้นมากกว่าอัตราตายของประชากรเพศหญิงอย่างเด่นชัด แต่ไม่พบแบบแผนที่แน่นอนของความแตกต่างระหว่างเพศในการเปลี่ยนแปลงอัตราตายด้วยโรคเนื้องอกและมะเร็ง ในส่วนที่เกี่ยวกับอิทธิพลของสาเหตุการตายที่มีต่อระดับภาวะการตายตามกลุ่มอายุและเพศนั้นพบว่าอัตราตายเฉพาะสาเหตุที่ลดต่ำลงและมีผลต่อการลดระดับภาวะการตาย ได้แก่ อัตราตายด้วยโรคติดเชื้อ อัตราตายด้วยโรคระบบหายใจ และอัตราตายด้วยโรคระบบย่อยอาหาร ซึ่งอัตราตายเฉพาะสาเหตุเหล่านี้มีค่ายืดหยุ่นของอัตราตายของประชากรเพศชายมากกว่าของประชากรเพศหญิง ยกเว้นอัตราตายด้วยโรคระบบย่อยอาหารซึ่งอัตราตายของประชากร เพศหญิงมีค่าความยืดหยุ่นมากกว่า ส่วนอัตราตายเฉพาะสาเหตุที่เพิ่มสูงขึ้นและมีส่วนชะลอการลดระดับภาวะการตาย ได้แก่ อัตราตายด้วยโรคระบบไหลเวียนเลือด และอัตราตายด้วยโรคเนื้องอกและมะเร็ง โดยมีค่าความยืดหยุ่นของอัตราตายเพิ่มขึ้นตามกลุ่มอายุที่สูงขึ้น และอัตราตายด้วยโรคระบบไหลเวียนเลือดของประชากรเพศชายมีค่าความยืดหยุ่นมากกว่าอัตราตายของประชากรเพศหญิง ผลจากการศึกษานี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนด้านการแพทย์และสาธารณสุขทั้งด้านการป้องกันและการรักษาพยาบาลให้เหมาะสมกับความแตกต่างของความเสี่ยงของการเกิดโรคของประชากรในแต่ละกลุ่มอายุและเพศ
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ไชยเพ็ชร, ศศธร, "การเปลี่ยนแปลงในสาเหตุการตายกับระดับภาวะการตายตามกลุ่มอายุและเพศ ของประชากรไทย, 2504-2529" (1991). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 38320.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/38320