Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาการทำงานของเอนไซม์โซเดียม-โพแทสเซียม อะดีโนซีนไตรฟอสฟาเทส ในเม็ดเลือดแดงของชายไทยในจังหวัดของแก่น

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Study of the activity of erythrocyte sodium-potassium adenosine triphosphatase (Na-K ATPase) of Thai men in Khon Kaen province

Year (A.D.)

1991

Document Type

Thesis

First Advisor

ราตรี สุดทรวง

Second Advisor

ปิยะรัตน์ โตสุโขวงศ์

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

สรีรวิทยา

DOI

10.58837/CHULA.THE.1991.683

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อหาระดับเอนไซม์ โซเดียม-โพแทสเซียม อะดิโนซีน ไตรฟอสฟาเทส (Na-K ATPase) หรือโซเดียมปั้มจากเยื่อหุ้มเซลล์ของเม็ดเลือดแดง รวมทั้งหาความเข้มข้นของโซเดียม โพแทสเซียมในเม็ดเลือดแดงและพลาสมาของชายไทยชนบทที่มีสุขภาพดี และมีภูมิลำเนาอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคใหลตายและโรคนิ่วไต โดยศึกษาเปรียบเทียบกับชายไทยที่มีสุขภาพที่อยู่ในกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่ามีความผิดปกติของระดับเอนไซม์ Na-K ATPase ในกลุ่มศึกษากลุ่มที่ 2 (เป็นคนที่มาบริจาคโลหิต จังหวัดขอนแก่น) จำนวน 25 คน อายุเฉลี่ย 30 ปี มีค่าเฉลี่ยของระดับเอนไซม์ Na-K ATPase 52 ± 4 nmo l Pi/mg.hr และกลุ่มศึกษากลุ่มที่ 3 (เป็นคนชนบทรอบ ๆ เมืองขอนแก่นและเป็นญาติสายตรงของคนใหลตาย) จำนวน 30 คน อายุเฉลี่ย 31 ปี มีค่าเฉลี่ยของระดับเอนไซม์นี้ 63 ± 3nmo l Pi/mg.hr ซึ่งต่ำกว่ากลุ่มควบคุมกลุ่มที่ 1 (เป็นคนที่มาบริจาคโลหิตที่กรุงเทพมหานคร) จำนวน 32 คน อายุเฉลี่ย 34 ปี มีค่าเฉลี่ยของเอนไซม์ 98 ± 5 nmo l Pi/mg.hr อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<0.001และ p<0.05 ตามลำดับ ค่าความเข้มข้นของโซเดียมในเม็ดเลือดแดง (Na ,.) ของกลุ่มศึกษาทั้งกลุ่มที่ 2 และ 3 (Nai = 13.6 ± 0.6 และ 10.5 + 0.5 mEq/L ตามลำดับ) สูงกว่ากลุ่มที่ 1 (Nai = 8.1 ± 0.3 mEq/L) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<0.001 และ p<0.05 ตามลำดับ ค่าความเข้มข้นของโพแทสเซียมในเม็ดเลือดแดง ( K ) ของกลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 3 (99 ± 2 และ 103 ± 2 mEq/L ตามลำดับ) สูงกว่ากลุ่มที่ 1 (92 ± 2 mEq/L) เช่นกัน สำหรับค่าความเข้มข้นของโซเดียมในพลาสมาของกลุ่มที่ 3 สูงกว่าของกลุ่มที่ 1 และ 2 แต่ไม่พบความแตกต่างของระดับโพแทสเซียมในพลาสมาขอลประชากรทั้ง 3 กลุ่มนี้ นอกจากนี้ยังพบความสัมพันธ์เชิงผกผันระหว่างความเข้มข้นของ Na₁ กับระดับเอนไซม์ Na-K ATPase ของประชากรทั้ง 3 กลุ่ม (r = -0.416 p<0.001) โดยสรุปจากผลการวิจัยนี้พบว่ามีความผิดปกติของการทำงานของโซเดียมปั้มในเยื่อหุ้มเซลล์ของเม็ดเลือดแดงของประชากรที่มีสุขภาพปกติ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้พบว่ามีค่าความเข้มข้นของโซเดียมในเม็ดเลือดแดงสูงผิดปกติ และอาจเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการเกิดโรคใหลตายและโรคนิ่วไต ของประชากรในเขตภูมิภาคนี้

Share

COinS