Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
ผลของอัลลิซินต่อการหดตัวของมดลูกหนูแรท
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Effect of allicin on rat uterine contraction
Year (A.D.)
1991
Document Type
Thesis
First Advisor
ราตรี สุดทรวง
Second Advisor
สมศักดิ์ บวรสิน
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
สรีรวิทยา
DOI
10.58837/CHULA.THE.1991.682
Abstract
กระเทียมนอกจากใช้เป็นอาหารแล้วยังนำมาใช้เป็นสมุนไพรอีกด้วย ตำรับยาสมุนไพรของไทยได้กล่าวถึงสรรพคุณในการรักษาโรคของกระเทียมไว้หลายอย่าง เช่น แก้โรคผิวหนัง เป็นยาระบาย และเป็นยาขับปัสสาวะ เป็นต้น นอกจากนี้เกี่ยวกับระบบการสืบพันธุ์ ก็พบว่า กระเทียมให้ผลเป็นยาขับระดู ยาบีบมดลูก และยาที่ทำให้เกิดการแท้ง โดยสารที่มีฤทธิ์มากที่สุดในกระเทียม คือ อัลลิซิน ซึ่งสามารถสกัดได้โดยใช้อีเธอร์ อัลกอฮอลล์ หรือน้ำ แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีใครทราบกลไกทางสรีรวิทยาของสารสกัด อัลลิซิน การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงกลไกการทำงานของสารสกัด อัลลิซินต่อการหดตัวของมดลูกหนูแรท โดยศึกษาว่ากลไกดังกล่าวผ่านทาง muscarinic receptor, beta receptor, alpha receptor หรือใช้ Ca-channel โดยใช้มดลูกของหนูแรทอายุ 8-10 สัปดาห์ ในระยะ estrus มาศึกษา in vitro ใช้เครื่อง Dynograph บันทึกผลการทดลองทั้งความแรง (amplitude) อัตรา(rate) จังหวะ (rhythm) รูปลักษณ์ (form) ของการหดตัว ผลการทดลองพบว่าสารสกัด อัลลิซิน เพิ่มความแรงของการหดตัวของมดลูกหนูแรท อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P< 0.01) โดยการหดตัวจะสูงขึ้นตามปริมาณสารสกัด อัลลิซินที่เพิ่มขึ้น และพบว่า atropine ไม่สามารถยับยั้งฤทธิ์ของสารสกัด อัลลิซินได้ (P< 0.01) จึงเชื่อว่า สารสกัด อัลลิซินไม่ได้ออกฤทธิ์ผ่าน muscarinic receptor ผลการทดลองของสารสกัด อัลลิซินต่อ beta adrenergic receptorของมดลูกหนูแรทโดยใช้ propranolol พบว่า propranollo ไม่สามารถเสริมฤทธิ์หรือเอื้อฤทธิ์ของสารสกัด อัลลิซินได้ (P< 0.01) จึงเชื่อว่าสารสกัด อัลลิซินไม่มีผลต่อ beta adrenergic receptor ในทำนองเดียวกัน phentolamine ก็ไม่สามารถยับยั้งฤทธิ์ของสารสกัด อัลลิซินได้ (P< 0.01) นั่นคือ สารสกัด อัลลิซินไม่มีผลต่อ alrenergic receptor เช่นกัน และพบว่า สารสกัด อัลลิซินสามารถเพิ่มการหดตัวของมดลูกหนูแรทได้หลังจากให้ verapamil แบบ dose dependent (P < 0.025) จึงเชื่อว่าสารสกัด อัลลิซินอาจเหนี่ยวนำให้มีการเปิด calcium channel และ/หรือ ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายของ calcium ในเซลล์ จากผลการทดลองพอสรุป เป็นแนวทางที่จะนำกระเทียมมาใช้ในทางคลินิก เพื่อช่วยในการคลอด การขับรถ และขับประจำเดือนต่อไป
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
เพิ่มพิณทอง, อันธิกา, "ผลของอัลลิซินต่อการหดตัวของมดลูกหนูแรท" (1991). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 38318.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/38318