Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเปรียบเทียบตัวประมาณอัตราความผิดพลาด ในการวิเคราะห์การจำแนกกลุ่ม

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Comparison on error rate estimators in discriminant analysis

Year (A.D.)

1991

Document Type

Thesis

First Advisor

สรชัย พิศาลบุตร

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

สถิติศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

สถิติ

DOI

10.58837/CHULA.THE.1991.799

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประะสงค์ที่จะมีศึกษา และนำเอาตัวประมาณ 4 วิธี ดังนี้ 1.วิธี DS หรือ SHRUNKEN-D ́ ESTIMATOR 2. วิธี R หรือ RESUBSTITUTION ESTIMATOR 3. วิธี บ หรือ Leave -one -out ESTIMATOR 4. วิธี B หรือ BOOTSTRAP ESTIMATOR มาประมาณอัตราความผิดพลาดที่มีเงื่อนไขที่เกิดจากการใช้กฎการจำแนกกลุ่ม สำหรับการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของตัวประมาณนั้นจะพิจารณา จากค่าความ คลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ยของตัวประมาณ ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยได้จากการจำลอง ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยใช้เทคนิค มอนติคาร์โล เมื่อขนาดตัวอย่างมีขนาด 10, 20, 25, 50 และ 100 ขนาดของตัวแปรอิสระ( K ) 3 5 7 และ 9 ลักษณะการแยกจากกันของประชากร หรือค่ารากที่สองของ Mahalanobis distance (∆) ) มีขนาด 0.0 | 0.5 | 1.0 | 1.5 | 2.0 | 2.5 และ 3.0 โดยในแต่ละการทดลองกระทำซ้ำ 500 ครั้ง และการสุ่มตัวอย่างแบบใส่คืน โดยวิธี Bootstrap กระทำ 100 ครั้ง ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1. ขนาดตัวอย่าง จำนวนตัวแปรอิสระ และลักษณะการแยกจากกันของประชากรมีผลต่อ ความ คลาดเคลื่อนกำลังสอง เฉลี่ยของตัวประมาณ 2. ในกรรณีที่ขนาดตัวแปรอิสระในค่าสังเกตเพิ่มขึ้น วิธี U มีประสิทธิภาพดีกว่า วิธี R วิธี DS และวิธี B 3. โดยส่วนใหญ่วิธี R ให้ประสิทธิภาพในการประมาณต่ำกว่าตัวประมาณตัวอื่น 4. ค่ารากนี้สองของ Mahalanobis distance เป็นปัจจัยหลักที่สำคัญในการเลือกใช้ตัวประมาณอัตราความผิดพลาดที่มีเงื่อนไข 5. เมื่อ ∆ ≤ 0 5 ควรเลือกใช้ตัวประมาณโดยวิธี B 6. เมื่อ ∆> 0 .5 ถ้า k ≤ 7 ควรใช้ตัวประมาณโดยวิธี DS แต่ถ้าk > 7 ควรใช้ตัวประมาณโดยวิธี U

Share

COinS