Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การเปรียบเทียบวิธีการประมาณค่าเฉลี่ยของประชากร เมื่อไม่ทราบค่าสัดส่วนของชั้นภูมิในการเลือกตัวอย่างมีชั้นภูมิ แบบสุ่มอย่างง่าย
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
A comparison on the population means estimation methods for unknown proportions of stratum sizes in stratified random sampling
Year (A.D.)
1991
Document Type
Thesis
First Advisor
สรชัย พิศาลบุตร
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
สถิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
สถิติ
DOI
10.58837/CHULA.THE.1991.793
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของตัวประมาณในสถานการณ์ที่ไม่ทราบค่าสัดส่วนของชั้นภูมิทั้งในขั้นตอนการวางแผนและขั้นตอนการประมาณค่ากับสถานการณ์ที่ไม่ทราบค่าสัดส่วนของชั้นภูมิในขั้นตอนการวางแผน แต่ทราบในขั้นตอนการประมาณค่าในการเลือกตัวอย่างมีชั้นภูมิแบบสุ่มอย่างง่าย โดยใช้วิธีการของมอนติคาร์โลในการแก้ปัญหา ทั้งนี้เพื่อนำวิธีการที่ดีกว่าไปใช้ในทางปฏิบัติต่อไป ผลการวิจัยพบว่า ตัวประมาณในสถานการณ์ที่ ไม่ทราบค่าสัดส่วนของชั้นภูมิในขั้นตอนการวางแผนแต่ทราบในขั้นตอนการประมาณค่ามีประสิทธิภาพสูงกว่าตัวประมาณในสถานการณ์ที่ไม่ทราบค่าสัดส่วนของชั้นภูมิทั้งในขั้นตอนการวางแผนและขั้นตอนการประมาณค่า และเมื่อพิจารณาผลลัพธ์ที่ได้จากการวิจัยจากทุกแผนการทดลองของแต่ละลักษณะการแจกแจงของประชากร จะพบว่า 1. ในกรณีของการแจกแจงแบบปกติ เมื่อกำหนดค่าความแปรปรวนเพิ่มสูงขึ้น ค่าประสิทธิภาพสัมพัทธ์ที่ได้จากการเปรียบเทียบตัวประมาณไม่แตกต่างไปจากค่าประสิทธิภาพสัมพัทธ์เดิมมากนัก 2. ในกรณีของการแจกแจงแบบปกติปลอมปน เมื่อกำหนดค่าความแปรปรวนเพิ่มสูงขึ้น ค่าประสิทธิภาพสัมพัทธ์ที่ได้จากการเปรียบเทียบตัวประมาณไม่แตกต่างไปจากค่าประสิทธิภาพสัมพัทธ์เดิมมากนัก แต่เมื่อกำหนดค่าสเกลแฟคเตอร์ และค่าสัดส่วนของการปลอมปนเพิ่มสูงขึ้น ค่าประสิทธิภาพสัมพัทธ์ที่ได้จากการเปรียบเทียบตัวประมาณจะให้ค่าที่แตกต่างไปจากค่าประสิทธิภาพสัมพัทธ์เดิม 3. ในกรณีของการแจกแจงแบบแกมมา เมื่อกำหนดค่าแอลฟา และค่าเบตาเพิ่มสูงขึ้น ค่าประสิทธิภาพสัมพัทธ์ที่ได้จากการเปรียบเทียบตัวประมาณไม่แตกต่างไปจากค่าประสิทธิภาพสัมพัทธ์เดิมมากนัก 4. ในกรณีของการแจกแจงแบบเบ้ เมื่อกำหนดค่าความแปรปรวนเพิ่มสูงขึ้น ค่าประสิทธิภาพสัมพัทธ์ที่ได้จากการเปรียบเทียบตัวประมาณไม่แตกต่างไปจากค่าประสิทธิภาพสัมพัทธ์เดิมมากนัก แต่เมื่อกำหนดค่าความเบ้เพิ่มสูงขึ้น ค่าประสิทธิภาพสัมพัทธ์ที่ได้จากการเปรียบเทียบตัวประมาณจะให้ค่าที่แตกต่างไปจากค่าประสิทธิภาพสัมพัทธ์เดิม
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
อิทนทสิงห์, พิสิฎฐ์, "การเปรียบเทียบวิธีการประมาณค่าเฉลี่ยของประชากร เมื่อไม่ทราบค่าสัดส่วนของชั้นภูมิในการเลือกตัวอย่างมีชั้นภูมิ แบบสุ่มอย่างง่าย" (1991). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 38307.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/38307