Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาความสามารถทางการวาดภาพของนักศึกษาวิชาเอกการประถมศึกษา ระดับ ปริญญาตรี สหวิทยาลัยทักษิณ

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Study of drawing abiliyy of studente majoring in elementary education at undergraduaye level Taksin United Colleges

Year (A.D.)

1991

Document Type

Thesis

First Advisor

อำไพ ตีรณสาร

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

ครุศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

ศิลปศึกษา

DOI

10.58837/CHULA.THE.1991.394

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถทางการวาดภาพของนักศึกษา วิชาเอกการประถมศึกษาความสามารถในการวาดภาพมี 7 ด้าน คือ 1) ทักษะการวาดโครงสร้างของรูปทรง 2) การวาดรายละเอียดส่วนต่าง ๆ ของรูปทรง 3) คุณภาพการวาดเส้น 4) ความคิดและความงาม 5) การวาดแสดงพื้นผิว 6) ความคล่องแคล่ว และ 7) ความประณีต ประชากรที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักศึกษาวิชาเอกการประถมศึกษาที่กำลังศึกษาในระดับชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2533 จากสถาบันศึกษา สังกัดกรมการฝึกหัดครู สหวิทยาทักษิณ ( นครศรีธรรมราช สงขลา สุราษฎร์ธานี ยะลา) จำนวน 133คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ผู้วิจัยได้พัฒนามาจาก เครื่องมือวัดความถนัดเชิงศิลปะของ วิรัตน์ พิชญไพบูลย์ เกี่ยวกับแบบทดสอบการวาดเส้นละแบบทดสอบทักษะการเขียนภาพ มาวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วนำเสนอข้อมูลในรูปตารางประกอบความเรียง ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษามีความสามารถทางการวาดภาพในแต่ละด้านดังนี้ 1. ด้านการวาดโครงสร้างของรูปทรง เกี่ยวกับการใช้อัตราส่วนของขนาด และสัดส่วนของรูปทรงในการจัดองค์ประกอบของรูปทรง มีจำนวนนักศึกษาที่แสดงความสามารถคิดเป็นร้อยละ 35.61 2. ด้านการวาดรายละเอียดส่วนต่าง ๆ ของรูปทรง และการสร้างความสัมพันธ์ของส่วนประกอบต่าง ๆ ของรูปทรง มีจำนวนนักศึกษาที่แสดงความสามารถ คิดเป็นร้อยละ 66.55 3.ด้านคุณภาพการวาดเส้น เกี่ยวกับความคมชัดความหนักเบาและความต่อเนื่องของเส้นมีจำนวนนักศึกษาที่แสดงความสามารถคิดเป็นร้อยละ 36.94 4. ล้านความคิดและความงาม เกี่ยวกับการวาดรูปทรงไห้มีความงามและการวาดแสดง ความคิดมีจำนวนนักศึกษาที่แสดงความสามารถคิด เป็นร้อยละ 47.41 5. ด้านการวาดเส้นแสดงพื้นผิว เกี่ยวกับการใช้พื้นที่ว่าง การแสดงลักษณะสามมิติ การแสดงลักษณะพื้นผิว มีจำนวนนักศึกษาที่แสดงความสามารถคิดเป็นร้อยละ 42.28 6. ด้านความคล่องแคล่ว เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของเส้น การสร้างความประสานกลมกลืน ของเส้นมีจำนวนนักศึกษาที่แสดงความสามารถคิดเป็นร้อยละ 47.32 7. ด้านความประณีต เกี่ยวกับการใช้เส้นให้เป็นระเบียบ การรักษาความสะอาด มีจำนวนนักศึกษาที่แสดงความสามารถคิดเป็นร้อยละ 54.24

Share

COinS