Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความคิดเห็นของครูศิลปะในกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับการประเมินผลการเรียนวิชาศิลปศึกษาตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Opinions of Art teachers in Bangkok metropolis concerning learning evaluation on Art education courses in the lower secondary school curriculum B.E. 2521

Year (A.D.)

1991

Document Type

Thesis

First Advisor

สุลักษณ์ ศรีบุรี

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

ครุศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

ศิลปศึกษา

DOI

10.58837/CHULA.THE.1991.393

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูศิลปะในกรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับการประเมินผลการเรียนวิขาศิลปศึกษา ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 ในด้านการปฏิบัติตามระเบียบการประเมินผล การสร้างแบบทดสอบ วิธีการประเมินผล การตัดสินผลการเรียน การส่งเสริมและสนับสนุนครูศิลปะในเรื่องการประเมินผลการเรียนวิขาศิลปศึกษาโดยบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามสำรวจความคิดเห็นจากครูศิลปะ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนรัฐบาลในกรุงเทพมหานคร จำนวน 110 คน แล้ววิเคราะห์ข้อมูลหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป เอสพีเอสเอสเอ็กซ์ (SPSSX-Statistical Package for the Social Science X)แล้วนำเสนอข้อมูลในรูปตารางประกอบความเรียง และข้อเสนอแนะในรูปความเรียงตามลาดับความถี่ของจำนวนผู้ตอบ ผลการวิจัยได้พบว่า ครูศิลปะมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการประเมินผลการเรียนวิขาศิลปศึกษาตาม หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนตัน พุทธศักราช 2521 อยู่ใบระดับเห็นด้วยในทุก ๆ ด้านดังต่อไปนี้ คือ (1) การปฏิบัติตามระเบียบการประเมินผล (2 ) การสร้างแบบทดสอบ (3 ) วิธีการประเมินผล (4 ) การตัดสินผลการเรียน (5 ) การส่งเสริมและสนับสนุนครูศิลปะในเรื่องการประเมินผลการเรียนวิขาศิลปศึกษา โดยบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ครูศิลปะมีข้อเสนอแนะในแบบสอบถามปลายเปิดที่สรุปสาระสำคัญดังนี้ คือ (1) กระทรวงศึกษาธิการควรจัดทาคู่มือการประเมินผลให้แก่ครูศิลปะอย่างทั่วถึง (2) กระทรวงศึกษาธิการ ควรจัดทำเอกสาร ตาราเรียน และคู่มือครู ให้แก่ครูศิลปะได้ใช้เตรียมการประเมินผลล่วงหน้าอย่างเพียงพอ (3) กลุ่มโรงเรียนแต่ละกลุ่มควรจัดทำธนาคารข้อสอบ (4) ครูศิลปะควรเน้นวิธีการประเมินผลภาคปฏิบัติมากกว่าภาคทฤษฎี (5) ครูศิลปะไม่ควรตัดสินให้ผลการเรียน "0" หรือตก ในกรณีทีนักเรียนมีความตั้งใจ ปฏิบัติงานพอสมควรแล้ว (6) ศึกษานิเทศก์ควรแนะนำครูศิลปะในด้านวิธีการประเมินผล การเขียนข้อทดสอบ และการปฏิบัติตามระเบียบการประเมินผล (7) ศึกษานิเทศก์ควรจัดอบรมสัมมนาให้แก่ครูศิลปะ โดยการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และให้คำปรึกษาแนะนำ (8 ) ศึกษานิเทศก์ควรนิเทศและติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติการประเมินผลของครูศิลปะทุกภาคเรียน

Share

COinS