Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ทัศนะของผู้เชี่ยวชาญทางด้านการพัฒนาหลักสูตร นักวิชาการทางด้านศิลปศึกษาและผู้ใช้หลักสูตรที่มีต่อวิชาศิลปศึกษาในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Viewpoints of curriculum development experts, Art educators, and curriculum users towards Art education subjects in the lower secondary school curriculum (Revision in B.E.2533)

Year (A.D.)

1991

Document Type

Thesis

First Advisor

สุลักษณ์ ศรีบุรี

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

ครุศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

ศิลปศึกษา

DOI

10.58837/CHULA.THE.1991.391

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาทัศนะของผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาหลักสูตร และนักวิชาการด้านศิลปศึกษา ที่มีต่อหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น วิชาศิลปศึกษา (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูศิลปศึกษาในด้านการเตรียมความพร้อมสำหรับการใช้หลักสูตร หลักการจุดหมาย และโครงสร้างของหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับหลักสูตรและการใช้สูตร และเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูศิลปศึกษาที่มีต่อหลักสูตรฉบับดังกล่าว เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาหลักสูตร และนักวิชาการด้านศิลปศึกษา จำนวน 10 คน และใช้แบบสอบถามผู้บริหาร จำนวน 151 คน และครูศิลปศึกษาในโรงเรียนร่วมพัฒนาการใช้หลักสูตร จำนวน 302 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า ทัศนะของผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาหลักสูตรและนักวิชาการด้านศิลปศึกษาที่มีต่อหลักสูตรฉบับดังกล่าวตรงกันในด้านต่าง ๆ ดังนี้1. หลักการและจุดมุ่งหมาย : มีความชัดเจนดี มีความเป็นไปได้ทางปฏิบัติ 2.โครงสร้าง : ควรแยกวิชาศิลปศึกษา ดนตรี และนาฏศิลป์ ออกจากรายวิชาเดียว และเพิ่มคาบเวลาเรียนวิชาแกนบังคับ “ศิลปะกับชีวิต" เป็น 2 คาบ/สัปดาห์/ภาค 3.รายวิชา : การฝึกทักษะต่าง ๆ ควรเน้นในวิชาเลือกเสรี โรงเรียนควรเปิดให้พร้อมเพรียง 4. ควรเน้นความรู้พื้นฐาน และความชื่นชม รู้คุณค่าในศิลปวัฒนธรรม 5.การวัดและการประเมินผล : ครูขาดความรู้ความเข้าใจในด้านการวัดและประเมินผล และเนื้อหาวิชามาก อาจไม่สามารถประเมินผลได้บรรลุจุดมุ่งหมาย การศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูศิลปศึกษาได้พบว่า 1. ด้านตัวหลักสูตร:ผู้บริหารและครูศิลปศึกษามีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.5 2.ด้านสภาพการใช้หลักสูตร : ผู้บริหารและครูศิลปศึกษาเห็นด้วยตรงกัน 3.ด้านปัญหาการใช้หลักสูตร : ผู้บริหารและครูศิลปศึกษาไม่แน่ใจตรงกัน 4.การเตรียมความพร้อมในการใช้หลักสูตร : ผู้บริหารและครูส่วนใหญ่เห็นว่ามีความพร้อมในระดับปานกลาง 5.สาเหตุที่ครูศิลปะไม่ยอมรับหลักสูตร ผู้บริหารเห็นว่า เนื่องมาจากครูไม่เข้าใจทักษะกระบวนการในการนำหลักสูตรไปใช้ ส่วนครูศิลปศึกษาเห็นว่า เนื่องมาจากครูได้รับคำชี้แจงเกี่ยวกับหลักสูตร

Share

COinS