Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความผิดอาญาเกี่ยวกับทรัพย์ : ศึกษาเปรียบเทียบลักษณะของฐาน ความผิดตั้งแต่สมัยกฎหมายตราสามดวงจนถึงสมัยกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Offences against property : comparative study of the criminal elements between the period of the Code of Three Great Seals and the period of the Penal Code of R.S.127

Year (A.D.)

1993

Document Type

Thesis

First Advisor

อภิรัตน์ เพ็ชรศิริ

Second Advisor

ธงทอง จันทรางศุ

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

นิติศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.1993.427

Abstract

วิทยานิพนธ์นี้เปรียบเทียบบทบัญญัติความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ในกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 กับกฎหมายตราสามดวงโดยจำกัดขอบเขตการศึกษา เฉพาะบทบัญญัติในกฎหมายลักษณะโจร วิธีวิจัยใช้การวิจัยทางนิติศาสตร์เน้นหนักทางประวัติศาสตร์กฎหมายและสังคมวิทยากฎหมาย โดยศึกษาแนวความคิดในการบัญญัติกฎหมายตราสามดวงและกฎหมายลักษณะอาญาจาก เอกสารประวัติศาสตร์ เปรียบเทียบบทบัญญัติความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ในกฎหมายลักษณะโจรที่มีอยู่ในกฎหมายตราสามดวงกับกฎหมาย ลักษณะอาญาแล้ววิเคราะห์ถึงความคล้ายคลึงและความแตกต่างระหว่างกฎหมายทั้งสองฉบับตลอดจนผลที่เกิดขึ้นจากความ เปลี่ยนแปลงของกฎหมายในเวลาต่อมา ผลการวิจัยพบว่า กฎหมายตราสามดวง เป็นกฎหมายที่รับอิทธิพลแนวความคิดมาจากคัมภีร์ธรรมศาสตร์ของฮินดู ถูกเปลี่ยนแปลงด้วยแนวความคิดทางพุทธศาสนาโดยคัมภีร์ธรรมสัตถัมของมอญ ส่วนกฎหมายลักษณะอาญาเป็นกฎหมายที่รับอิทธิพลแนวความคิดมาจากกฎหมายของประเทศตะวันตก เป็นส่วนใหญ่เมื่อเปรียบเทียบบทบัญญัติความผิด เกี่ยวกับทรัพย์ดังที่ปรากฏอยู่ในกฎหมายลักษณะโจรและกฎหมายลักษณะอาญาแล้วพบทั้งความคล้ายคลึงและความแตกต่างกัน ผู้เขียนวิเคราะห์ได้ว่าเป็นผลมาจากการที่ผู้ร่างกฎหมายลักษณะอาญามีแนวความคิดที่จะนำวิธีการทางนิติศาสตร์ของประเทศตะวันตก เข้ามาพัฒนากฎหมายไทยที่มีอยู่แต่เดิม ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในด้านวิธีการบัญญัติกฎหมาย วิธีการคิด และส่งผลถึงวิธีการตัดสินของศาลด้วย ผู้เขียนยังค้นพบอีกว่า ความ เปลี่ยนแปลงข้างต้นได้ก่อให้เกิดผลในด้านวิวัฒนาการของระบบกฎหมายในเรื่อง ก) ความเป็นสากลของบทบัญญัติ ข) การยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ค) การ แก้ไขข้อบกพร่องของกฎหมายตราสามดวง ง) การเปลี่ยนแปลงนิติวิธี จ) ความลำบากในการใช้กฎหมาย ฉ) หลักกฎหมายดั้งเดิมของไทยบางส่วนสูญหายไป

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

This thesis compares legal provisions pertaining to crimes against property of the Penal Code of R.S. 127 with those of the Code of Three Great Seals, particularly the provisions in the Book of theft. Research methodology used emphasizes the approaches of legal history and Social logical jurisprudence. The thesis surveys the historical evidence which shows legislative intents of the Code of Three Great Seals and the Penal Code of R.S. 127. The comparison pertaining to crimes against property follows. Finally, the analysis of the similarities and differences of those two laws and their effects thereafter is conducted. This thesis finds that the Code of Three Great Seals received Hindu influence particularly the Buddhist version of Dhamasatham, while the Penal Code of R.S. 127 influenced mostly by Western legal concepts, when compare both laws, the writer finds similarities and differences. Analysis shows that such was the result of the reception of Western legal thoughts in the development of Thai legal system. The writer finds that the above changes resulted in the evolution of Thai legal system particularly in: A) The universality of legal provisions B) The abolition of extraterritorially C) The reform of the Law of Three Great Seals. D) Changes of legal methodology E) Difficulties in applying legal provisions F) The loss of some of indigenous Thai legal principles.

Share

COinS