Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรสำหรับผลิตเดกซ์แทรนเนสโดย Penicillium sp. สายพันธุ์ 61

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Utilization of agricultural wastes for the production of dextranase by Penicillium sp. strain 61

Year (A.D.)

1993

Document Type

Thesis

First Advisor

สุเทพ ธนียวัน

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

จุลชีววิทยาทางอุตสาหกรรม

DOI

10.58837/CHULA.THE.1993.602

Abstract

การปรับสภาพวัสดุทางการเกษตร อันได้แก่ ฟางข้าว แกลบ รำข้าว และชานอ้อย ซึ่งบดและร่อนคัดขนาด 50 เมช (mesh) ด้วยวิธีต่างๆ ทั้งทางกายภาพ และ/หรือทางเคมี ก่อนการย่อยด้วยเอนไซม์เซลลูเลสจาก Trichoderma reesei และเบตา-กลูโคลิเดส จาก Aspergillus niger พบว่า วิธีที่เหมาะสมในการปรับสภาพ ฟางข้าว และชานอ้อย คือ การใช้ 1% NaOH ที่อุณหภูมิ 121°ซ. ความดัน 15 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว เป็นเวลา 15 นาที สำหรับแกลบและรำข้าว คือการใช้ 1% NaOH ที่อุณหภูมิห้อง เป็นเวลา 30 และ 10 นาที ทำการย่อยวัสดุปรับสภาพนี้ด้วยเซลลูเลส และเบตา-กลูโคลิเดส ที่ความเข้มข้น 656 และ 16 หน่วยต่อกรัม น้ำหนักแห้งจะสามารถปลดปล่อยน้ำตาลรีดิวซ์ 897.5 1040.5 30.5 และ 372.5 มก. ต่อกรัมวัสดุทางการเกษตร ตามลำดับ สภาวะที่เหมาะสมต่อการทำงานของเซลลูเลส และเบตา-กลูโคลิเดส ในการย่อยวัสดุที่ผ่านการปรับสภาพ คือเอนไซม์ 40 และ 60 หน่วยต่อกรัม วัสดุทางการเกษตร ตามลำดับ ย่อยสารละลาย 4% (น้ำหนัก/ปริมาตร) ของวัสดุทางการเกษตรที่ผ่านการปรับสภาพแล้วด้วยวิธีที่เหมาระสมใน 0.05 M อะซีเตทปัฟเฟอร์ ความเป็นกรดด่าง 4.8 ที่อุณหภูมิ 40°ซ. อัตราการเขย่า 200 รอบ/นาที เป็นเวลา 24 ชั่วโมง พบว่า ไฮโดรเลเสทของชานอ้อย สามารถใช้เลี้ยงรา Penicillium sp. สายพันธุ์ 61 เพื่อการผลิตเอนไซม์เดกซ์แทรนเนสได้ดี โดยสูตรอาหารดัดแปลงที่ใช้จะประกอบด้วย 0.1% ไฮโดรเสทของชานอ้อย (น้ำหนัก/ปริมาตร คิดเป็นปริมาณกลูโคส) เป็นแหล่งคาร์บอน 1.0% เดกซ์แทรน เป็นสารชักนำการสร้างเอนไซม์ 0.2% NaNO3 เป็นแหล่งไนโตรเจน ปรับความเป็นกรดด่างเริ่มต้นของอาหารเลี้ยงเชื้อเป็น 6.0 โดย 0.2% ของสารสกัดจากยีสต์ก็มีผลต่อการสร้างเอนไซม์ด้วย ผลผลิตของเดกซ์แทรนเนสที่ได้จะอยู่ในระหว่าง 35-42 หน่วยต่อมล.อาหารเลี้ยงเชื้อ

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

Agricultural wastes including rice straw, rice husk, rice bran and sugarcane bagasse sized into 50 mesh were pretreated with various methods both physical and/or chemical means. The pretreated materials were further digested with cellulose from Trichoderma reesei and β-glucosidase from Aspergillus niger. The most appropriate condition for pretreating rice straw and bagasse judging from amount of reducing sugar released was 1% NaOH at 121℃. and 15 lbs/in2 for 15 minutes while in case of rice husk and bran was 1% NaOH at room temperature for 30 and 10 minutes respectively. Afterthat they were subjected to hydrolysed by cellulose and β-glucosidase at 656 and 16 units/gram dry weight of material yielding reducing sugar equivalent to 897.5, 1040.5, 30.5 and 372.5 mg/gram of material for rice straw, bagasse, rice husk and rice bran respectively. The optimum conditions for cellulose and β-glucosidase activities upon a 4% solution of pretreated materials (w/v) were at 40 and 60 units/gram of pretreated substrate in 0.05 M acetate buffer, pH 4.8, 40℃. for 24 hrs. with agitation rate of 200 rpm. It was observed that hydrolysate from bagasse could be used for cultivating Penicillium sp. strain 61 for dextranase production. The modified medium contained 0.1% bagasse hydrolysate (w/v equivalent to glucose) as C-source, 1.0% dextran as inducer, 0.2% NaNo3 as N-source with initial pH of 6.0 supplemented with 0.2% yeast extract when used for cultivation of the above organism could give dextranase in range or 35-42 units/ml.

Share

COinS