Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การศึกษาความไวและความจำเพาะของวิธี Nested palymerase chain reaction ในการตรวจไวรัสพิษสุนัขบ้า
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
The study of sensitivity and specificity in rabies virus detection by using the Nested polymerase chain reaction
Year (A.D.)
1993
Document Type
Thesis
First Advisor
ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา
Second Advisor
นวลทิพย์ กมลวารินทร์
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
จุลชีววิทยาทางการแพทย์
DOI
10.58837/CHULA.THE.1993.600
Abstract
การศึกษานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อประเมินวิธี nested PCR ในการตรวจวินิจฉัยโรคพิษสุนัขบ้า ทั้งในแง่ความไวและความจำเพาะของวิธีโดยนำตัวอย่างที่ต้องการตรวจมาสกัด RNA และเปลี่ยน RNA ให้เป็น cDNA โดยอาศัยปฏิกิริยา reverse transcription ซึ่ง cDNA ที่ถูกสร้างขึ้นจะใช้เป็นแม่พิมพ์สำหรับการเพิ่มปริมาณ DNA โดยเทคนิค PCR 2 ขั้นตอนต่อไปซึ่งเป็นการเพิ่มความไวมากกว่า PCR เพียงขั้นตอนเดียว และเป็นการยืนยันความจำเพาะโดยไม่อาศัย hybridization สิ่งส่งตรวจที่ใช้ในการศึกษานี้ได้แก่ สมองสุนัข ที่นำมาตรวจหาไวรัสพิษสุนัขบ้าที่สถานเสาวภา สภากาชาดไทย จำนวน 500 ตัวอย่าง และสมองสุนัขจำนวน 20 ตัวอย่างซึ่งเป็นสมองบวก 10 และลบ 10 ตัวอย่าง แล้วตั้งทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง (28-33°C) ที่เวลาต่าง ๆ กันในระยะตั้งแต่ 2, 6, 12, 24, 48 และ 72 ชม. โดยเปรียบเทียบผลการตรวจของ nested PCR กับวิธีที่ใช้ตรวจประจำวันคือ Fluorescent Antibody Test (FAT) และ Mouse Inoculation Test (MIT) จากผลการตรวจสมอง 500 ตัวอย่าง พบว่า nested PCR มีความไวและความจำเพาะเทียบเท่ากับ MIT ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐานในการตรวจยืนยันการวินิจฉัยโรคพิษสุนัขบ้าทางห้องปฏิบัติการ โดยที่ FAT ให้ผลลบปลอบ 1 ตัวอย่าง นอกจากนี้ nested PCR ยังสามารถตรวจไวรัสในสมองสุนัขแม้ว่าจะทิ้งไว้นานถึง 72 ชม. ก็ตาม ซึ่งการตรวจด้วย FAT และ MIT จะเริ่มให้ผลลบปลอมตั้งแต่ช่วงเวลา 24 และ 48 ชม. ตามลำดับ สำหรับปริมาณ virus specific RNA และ total RNA (brain RNA และ specific virus RNA) ที่น้อยที่สุดที่วิธี nested PCR สามารถตรวจได้คือ 8 pg และ 0.5 ng ตามลำดับ วิธี nested PCR สามารถนำมาใช้เป็นวิธีตรวจยืนยันในกรณีที่ FAT ให้ผลลบได้
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The objective of this study was to evaluate the sensitivity and specificity of nested PCR technique for rabies diagnosis. RNA was extracted from animal brain samples and then amplified in a two-step PCR after reverse transcription step. The used of the second amplification increases the sensitivity and avoids the confirmatory hybridization step. Dog brain tissue was collected from samples samples submitted to rabies diagnostic unit at Queen Saovabha Memorial Institute. Ten rabies-positive and 10 rabies-negative samples were left at room temperature (28-33°C) for different intervals (2, 6,12, 24, 48 and 72 hrs). These were examinated for the presence of rabies by FAT, MIT and nested PCR. Of 500 consecutive dog brain samples, nested PCR was positive for all MIT proven rabies samples. One FAT-negative MIT-positive brain sample was positive by nested PCR. Rabies viral genome could still be detected in all samples left at room temperature for different intervals to 72 hrs. As little as 8 pg of rabies virus specific RNA and 0.5 ng of total RNA (brain RNA and rabies virus specific RNA) could be detected. This technique can replace MIT as a confirmatory test for FAT-negative samples.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
รัตนศิวโมกษ์, ราตรี, "การศึกษาความไวและความจำเพาะของวิธี Nested palymerase chain reaction ในการตรวจไวรัสพิษสุนัขบ้า" (1993). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 37177.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/37177