Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การศึกษาพฤติกรรมการร่วมมือโดยการใช้โครงสร้างรางวัลในการเล่นเกม ของนักศึกษาบริหารงานธุรกิจระดับปริญญาตรี
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
A study of cooperative behavior with the use of game reward structure among bussiness administration undergraduates
Year (A.D.)
1993
Document Type
Thesis
First Advisor
โยธิน ศันสนยุทธ
Second Advisor
จรุงกุล บูรพวงศ์
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
จิตวิทยาสังคม
DOI
10.58837/CHULA.THE.1993.743
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาพฤติกรรมการร่วมมือของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ เปรียบเทียบระหว่างนักศึกษาชั้นปีที่ 1 กับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 โดยการทดลองให้เล่นเกมทางเลือกของนักโทษ แบบที่ไม่เป็นเมตริกซ์ ในเงื่อนไขการเล่น เกม 3 แบบ ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มีพฤติกรรมการร่วมมือมากกว่านักศึกษาชั้นปีที่ 4 ในทุกเงื่อนไขการเล่นเกม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.001) ส่วนในเงื่อนไขการเล่นเกมก็พบว่า ในเงื่อนไขการเล่นเกมแบบตาต่อตาฟันต่อฟัน นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มีพฤติกรรมการร่วมมือมากกว่าในเงื่อนไขการเล่นเกมแบบแข่งขัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.05) และในเงื่อนไขการเล่นเกมแบบร่วมมือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มีพฤติกรรมการร่วมมือมากกว่าในเงื่อนไขการเล่นเกมแบบแข่งขัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.05) แต่ในเงื่อนไขการเล่นเกมแบบตาต่อตาฟันต่อฟันกับเงื่อนไขการเล่นเกมแบบร่วมมือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มีพฤติกรรมการร่วมมือไม่แตกต่างกัน ส่วนนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ที่เล่นเกมในเงื่อนไขการเล่นเกมทั้ง 3 มีพฤติกรรมการร่วมมือไม่แตกต่างกัน
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The purpose of this research was to study cooperative behavior of freshmen and senior business administration undergraduates. In the experiment, the non-matrix type of the Prisoner’s Dilemma game reward structure with 3 kinds of response condition : cooperative, competitive and TIT-FOR-TAT, was used. The results show that there are significant differences (P<.001) between cooperative behaviors of freshmen and senior students in every kind of response condition. However, further analysis reveals that among the freshmen, cooperative behavior in both the cooperative and TIT-FOR-TAT response condition are significantly high (P<.05) than in the competitive condition. The cooperative behavior in the cooperative condition do not differ significantly from that in the TIT-FOR-TAT condition. For the senior students, three are no differences in cooperative behavior among the three kinds of response condition.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
อินทรประสิทธิ์, อิทธิศักดิ์, "การศึกษาพฤติกรรมการร่วมมือโดยการใช้โครงสร้างรางวัลในการเล่นเกม ของนักศึกษาบริหารงานธุรกิจระดับปริญญาตรี" (1993). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 37168.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/37168