Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การวิเคราะห์แหล่งข่าวด้านพลังงานสำหรับสื่อมวลชน
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
An analysis of petroleum information sources for mass media
Year (A.D.)
1993
Document Type
Thesis
First Advisor
ศิริชัย ศิริกายะ
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
การสื่อสารมวลชน
DOI
10.58837/CHULA.THE.1993.368
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะวิเคราะห์แหล่งข่าวด้านพลังงานสำหรับสื่อมวลชนเพื่อให้เข้าใจถึงบทบาทของแหล่งข่าวในฐานะผู้ส่งข่าวสารด้านพลังงานซึ่งทำการศึกษาตั้งแต่ลักษณะโครงสร้างองค์การ การบริหารงานสื่อสาร รวมทั้งกระบวนการผลิตและเผยแพร่ข่าวสารด้านพลังงานโดยอาศัยทฤษฎีการสื่อสารทฤษฎีองค์การ แนวความคิดเกี่ยวกับผู้รักษาประตูการกำหนดประเด็นการรับรู้ข่าวสารการจัดการข่าวสารในลักษณะมืออาชีพและแนวคิดเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของแหล่งข่าวตลอดจนคุณค่าของข่าวเป็นแนวทางเข้าสู่ปัญหาของการวิจัยซึ่งผลการวิจัยมีดังนี้ แหล่งข่าวมีปฏิสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับสภาพแวดล้อมทั้งภายในภายนอกตลอดเวลาการบริหารงานสื่อสารในปริบทสังคมจึงมุ่งไปที่การประสานงานกับภาครัฐบาลและสื่อมวลชนอันเป็นหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจน้ำมันทั้งโดยตรงและอ้อมและหน้าที่ประการสุดท้ายก็คือการผลิตและเผยแพร่ข่าวสารด้านพลังงานซึ่งถือเป็นการสื่อสารตามมาตรฐานวิชาชีพจากองค์การสู่สาธารณชนโดยอาศัยสื่อเฉพาะกิจ (วารสาร) จากแหล่งข่าวโดยตรงและสื่อมวลชน (หนังสือพิมพ์) เป็นช่องทางการสื่อสารแม้บางครั้งมิได้เปิดเผยแหล่งข่าวอย่างชัดเจนแต่ก็สามารถสะท้อนถึงความสัมพันธ์ระหว่างแหล่งข่าวและสื่อมวลชนในระดับต่างๆ ได้ กล่าวได้ว่าแหล่งข่าวมีจุดมุ่งหมายในการนำเสนอข่าวสารด้านพลังงานและการใช้ประโยชน์จากสื่ออย่างแน่ชัดอาทิเพื่อการสร้างภาพพจน์ของการเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยี การบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมหรือแม้แต่การดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดขององค์การอันเป็นเป้าหมายทางธุรกิจที่แฝงเร้นอยู่ในวัตถุประสงค์การสื่อสารทั่วๆ ไปซึ่งลักษณะประการหลังนี้ต้องอาศัยการวางแผนล่วงหน้าการนำเสนออย่างเป็นระบบและสามารถโยงใยไปถึงยุทธศาสตร์ของการแข่งขันได้อย่างสอดคล้องยิ่ง
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The research aims at analyzing the mass media’s sources of petroleum information to understand their role as informants. The organization structure, communications management and document distribution of sources are studied based on theories of mass communications, organization, gatekeeping, agenda setting, information management, source reliability and news value leading up to the arguments. The research findings are as follow. Information sources are interrelated with internal and outside environment factors. Communications management is therefore targeted at government and mass media coordination, which are the main sectors associated with the petroleum business. Another function is information distribution to the public, a standard business practice, by specific media of sources and through mass media. Although sources are sometime unidentified, their relationship with the mass media is reflected. In conclusion, sources have clear objectives in presenting information and utilizing media. For instance, to create the image of technology leader or social contributor, or even the survival of the organization, which is the underlying target of general mass communication objectives. The latter requires planning and presentation that is systematic and properly relates to business strategies.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
พิเชียรสุนทร, ศิรินารถ, "การวิเคราะห์แหล่งข่าวด้านพลังงานสำหรับสื่อมวลชน" (1993). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 37117.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/37117