Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การประหยัดต่อขนาดและการประหยัดต่อขอบเขตการผลิตของธนาคารพาณิชย์ไทย

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Economies of scale and ecomomies of scope in multiproduct of Thai commercial banks

Year (A.D.)

1993

Document Type

Thesis

First Advisor

จารุมา อัชกุล

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

เศรษฐศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.1993.46

Abstract

เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ไทยมีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ เป็นอย่างมาก เพราะ เป็นแหล่งระดมเงินออมและ เงินทุนภายในประเทศที่สำคัญที่สุด จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการศึกษา ถึงประสิทธิภาพในด้านการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ว่า ธนาคาร เหล่านี้มีการผลิตอยู่ในช่วงที่ต้นทุน ในการดำเนินงานผันแปรเฉลี่ยลดลงหรือเพิ่มขึ้น โดยพิจารณาว่าธนาคารพาณิชย์ไทย แต่ละแห่ง และแต่ละขนาด มีการประหยัดต่อขนาดหรือไม่ ทั้งนี้ธนาคารที่มีการประหยัดต่อขนาด โอกาสที่จะขยายการ ให้บริการก็ทำได้มากขึ้น กอร์ปกับในอนาคตธนาคารพาณิชย์มีแนวโน้มที่จะมีการให้บริการในรูปแบบใหม่ๆ มากขึ้นเพื่อดึงดูดลูกค้า วิจัยนี้จงจะศึกษาว่าถ้าธนาคารมีการขยายการให้บริการต่างๆ มากขึ้นธนาคารแต่ละแห่งควรมีการให้บริการประเภทใดร่วมกัน จึงจะทำให้ต้นทุน เฉลี่ยต่อหน่วยลดลง โดยพิจารณาการประหยัดจากการขยายขอบเขตการผลิต ของธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่ง โดยแบ่งบริการ ของธนาคารพาณิชย์เป็น 3 ประเภท คือ เงินลงทุนในหลักทรัพย์ เงินให้กู้ยืม และบริการอื่นๆ ในการ ศึกษาใช้ข้อมูลจากงบการเงิน ได้แก่งบดุล และงบกำไรขาดทุนของธนาคารพาณิชย์ไทย 15 แห่ง ตั้งแต่ปี 2522-2534 ผลการวิจัยพบว่าธนาคารนครหลวงไทย จำกัด มีการประหยัดต่อขนาดมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพพาณิชยการ จำกัด นอกจากนี้ยังพบว่าธนาคารขนาดใหญ่ ซึ่งมีปริมาณเงินฝาก สินเชื้อ และสินทรัพย์รวมกันตั้งแต่แสนล้านบาทขึ้นไป มีการประหยัดต่อขนาดค่อนขางต่ำ พิจารณาการ ประหยัดจากการขยายขอบเขตการผลิต ธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งมีการประหยัดจากการขยายขอบเขต การผลิตในบริการต่างชนิดกัน เนื่องจากธนาคารแต่ละแห่งลงทุนในหลักทรัพย์ที่แตกต่างกัน ได้รับผลตอบแทนในอัตราที่ต่างกัน และการให้กู้ยืมของแต่ละธนาคารมีคุณภาพต่างกันอีกด้วย

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

Commercial banks have vital role in the Thai economy as major sources of fund mobilization and investment allocation. This research attempts 1) to investigate the efficiency of banks' operation ie. to examine whether banks operate within a range which average cost is declining or increasing; 2) to analyze whether each bank and each category of bank poses economies of scale; 3) to study economies of scope of Thai Commercial banks and explore a possibility for joint services of commercial banks in each a way to lower average operating cost. This study divide commercial banks' services into 3 areas equity investment, providing loan and other services. Data from 15 Thai commercial banks' financial report from 1979-1991 are utilized in this study. The research findings reveal that the Siam City Bank has the most economies of scale, followed by the Bangkok Bank of Commerce. Economies of scale of large commercial banks, with deposit, loan and assets larger than one hundred thousand million baht, is considerably lower than the others. Each commercial bank has economies of scope in different joint services as results of different investment tools, rate of return and quality of loans.

Share

COinS