Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันการติดเชื้อโรคเอดส์ ของพนักงานและคนงานในโรงงานอุตสาหกรรม ในเขตอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Knowledge, attitude and preventive behavior against Aids among clerk and worker group in factories at Pak Chong District, Nakhon Ratchasima Province

Year (A.D.)

1993

Document Type

Thesis

First Advisor

บดี ธนะมั่น

Second Advisor

ไพรัช ดีสุดจิต

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

เวชศาสตร์ป้องกันและสังคม

DOI

10.58837/CHULA.THE.1993.580

Abstract

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใด เวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อโรคเอดส์ของพนักงาน และคนงานในโรงงานอุตสาหกรรมรวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อโรคเอดส์ และศึกษาปัจจัยทางอายุ เพศ ระดับการศึกษา รายได้ สถานภาพที่มีผลต่อความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม การป้องกันการติดเชื้อโรคเอดส์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษากลุ่มตัวอย่างจากพนักงานและคนงานในโรงงานอุตสาหกรรม ทั้งขนาดใหญ่ กลาง เล็ก จำนวนตัวอย่างทั้งหมด 1,070 คน โดยวิธีการสัมภาษณ์ โดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการทดสอบแล้ว จากการศึกษาพบว่ากลุ่มพนักงานและคนงานในโรงงานอุตสาหกรรม มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องโรคเอดส์ ในระดับดี ร้อยละ 53.5 (X̅ = 19.22, SD = 0.11) ทัศนคติที่มีต่อโรคเอดส์ระดับปานกลางร้อยละ 85.7 (X̅ = 1.87, SD = 0.32) พฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อโรคเอดส์ บางอย่างที่ยังต้องปรับปรุง จากการวิเคราะห์พบว่า ปัจจัยทางอายุ เพศ การศึกษา รายได้ มีความสัมพันธ์กับความรู้ ในเรื่องโรคเอดส์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ P < 0.05 ปัจจัยทางอายุ มีความสัมพันธ์กับทัศนคติในเรื่องโรคเอดส์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ P < 0.05 ความรู้เรื่องโรคเอดส์ มีความสัมพันธ์กับทัศนคติในเรื่องโรคเอดส์บางเรื่อง และมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อโรคเอดส์บางพฤติกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ P < 0.05 ปัจจัยทางเพศ การศึกษา สถานภาพ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมทางเพศสัมพันธ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ P < 0.05 การได้รับข้อมูลข่าวสาร พบว่า โทรทัศน์เป็นสื่อที่ชัดเจนที่สุดในการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ไปยังพนักงานและคนงานในโรงงานอุตสาหกรรม (76.5%) รองลงมาแผ่นป้ายโฆษณา (60.8%) พบว่าประมาณ 74.7 % ยังมีความรู้เรื่องโรคเอดส์ที่ยังไม่ชัดเจน และมีทัศนคติด้านลบในบางข้อ ควรจัดให้ทีมงานสาธารณสุข แพทย์ พยาบาล และองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชนเข้ามีส่วนร่วมในการให้การสนับสนุน ในการเผยแพร่ ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The purpose of this research was to study the knowledge, attitude and preventive behavior AIDS among clerk and worker group and also study the relationship concerning knowledge, attitude and preventive behavior against AIDS and age, sex, education, economic and marital status. The simple consisted of 1,070 male and female clerk and worker who worked in the factories at Pakchong District in Nakhornratchasima Province. The selected of this sample was done by stratified random sampling from large, medium, small factories. It was found that the level of knowledge of clerk and worker group is good 53.5 (X̅ = 19.22, SD = 0.11) the attitude is in the middle level 85.7% (X̅ = 1.87, SD = 0.32) but some preventive behavior should be corrected. The analysis of the relationship among knowledge, attitude and preventive behavior on AIDS indicated that they were not corrected. age, sex, education, economic were statistically significance P < 0.05 by Knowledge. Television was the best media for transmitting the AIDS knowledge to clerk and worker group (76.5%) while posters were the next (60.8%). It was found that about 74.4% had no clear knowledge about AIDS. The health officers and nongovernment agency should have better participation in delivering the AIDS health education.

Share

COinS