Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การสกัดแทนนินจากเปลือกเงาะ

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Extraction of tannin from rambutan peel

Year (A.D.)

1993

Document Type

Thesis

First Advisor

สุเมธ ชวเดช

Second Advisor

เพียรพรรค ทัศดร

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

เคมีเทคนิค

DOI

10.58837/CHULA.THE.1993.529

Abstract

งานทดลองวิจัยสกัดสารแทนนินจากเปลือกเงาะ แบ่งออกเป็น 3 การทดลองย่อย การทดลองแรก คือ การสกัดแบบแช่ครั้งเดียวไม่มีการกวนผสม อุปกรณ์ทดลองเป็นขวดแก้ว (Erlenmeyer flask) ขนาดความจุ 250 มิลลิลิตร โดยพบว่าเปลือกเงาะขนาดที่เหมาะสม คือ 1-2 มิลลิเมตร การสกัดที่ช่วงอุณหภูมิ 30-70°เซลเซียส ควรใช้ตัวทำละลายเอธานอล 50% หรือสารละลาย 1% และ 3% Na2SO3 ช่วยสกัด ส่วนการสกัดที่อุณหภูมิสูง (90°เซลเซียส) ควรใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย อัตราส่วนเปลือกเงาะต่อตัวทำละลายที่เหมาะสม = 1:10 เวลาที่ใช้แช่เมื่อสกัดที่อุณหภูมิต่ำ (30-50°เซลเซียส) ยาวนานกว่า 24 ชั่วโมงยังไม่เข้าสู่สภาวะคงตัวที่อุณหภูมิสูงขึ้น (70° เซลเซียส) ใช้เวลาอยู่ในช่วง 9-24 ชั่วโมง ส่วนที่อุณหภูมิ 90°เซลเซียส ใช้เวลาเพียง 3 ชั่วโมง การทดลองที่ 2 คือ การสกัดแบบแช่ที่มีการกวนผสมเพื่อศึกษากราฟที่สภาวะสมดุล (Equilibrium line) และ ค่าสัมประสิทธิ์ของการแพร่ (kˊA/b) ที่อุณหภูมิสกัดต่างๆ โดยได้ความสัมพันธ์ระหว่าง kˊA/b กับอุณหภูมิของตัวทำละลาย ( เคลวิน) เป็นเส้นตรง คือ kˊA/b = 0.192 T – 56.09 เมื่อใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย และ kˊA/b = 0.203 T – 59.37 เมื่อใช้สารละลายเอธานอล 50% เป็นตัวทำละลาย ภายใต้สภาวะการทดลองคือ ขนาดเปลือกเงาะ 1-2 มิลลิเมตร อัตราส่วนเปลือกเงาะต่อตัวทำละลาย = 1:10 อุณหภูมิ 30°-70°เซลเซียส และความเร็วรอบเครื่องกวนแม่เหล็ก 500 รอบต่อนาที การทดลองที่สามคือ การสกัดกึ่งต่อเนื่องสวนทางกัน อุปกรณ์ทดลองเป็นกระบวกสแตนเลสจุ 3 ลิตร ภายในมีกระบอกเจาะรูสำหรับบรรจุเปลือกเงาะ โดยมีกระบอกทดลองทั้งหมด 6 ชุด วางไว้ในอ่างอังไอน้ำที่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ เวลาที่ใช้แช่ต่อหนึ่งถังสกัด 1/2 ชั่วโมง พบว่าสารละลาย 3%/Na2SO3มีประสิทธิภาพสูงกว่าสารละลาย 1% Na2SO3 และสารละลายเอธานอล 50% เล็กน้อย แต่มีประสิทธิภาพสูงกว่าน้ำมาก เมื่อสกัดที่อุณหภูมิ 70°เซลเซียส ดังนั้นการเมสาร Na2SO3 จึงมีความเหมาะสมและไม่ก่อผลการใช้เนื่องจากต้องใช้ในกระบวนการฟอกหนังด้วย อนึ่งระบบสกัดแบบกึ่งต่อเนื่องสวนทางกัน ให้ประสิทธิภาพการสกัดสารแทนนินสูงกว่าแบบสกัดครั้งเดียวมีการกวนผสม ในขณะที่ระบบสกัดครั้งเดียวไม่มีการกวนผสมมีประสิทธิภาพต่ำสุด

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The experimental studies of tanning extraction from rambutan peel were devided into 3 main parts. The first part was the batch extraction without mixing. The extraction units were 250 ml. Erlenmeyer flasks. It was found that the optimum size of rambutan peel was 1-2 mm.. For the temperature 30-70℃, 50% ethanol, 1% and 3% Na2SO3 should be used. When the extraction temperature raised up to 90℃, pure water should be used. The optimum ratio of rambutan peel to solvent was about 1:10.The optimum extraction time was 9 and 3 hours at 70℃ and 90℃, respectively. The second study was to determine the tannin equilibrium curve and the diffusion coefficients (kˊA/b) at different temperatures by using a mixing vessel. It was found that the term of kˊA/b was linear function of the extraction temperature ( K) kˊA/b = 0.192 t – 56.09 for pure water and kˊA/b = 0.203 T – 59.37 for 50% ethanol under the studied conditions : size = 1-2 mm., the ratio of rambutan peel to solvent = 1:10, temperature = 30°-70℃ and mixing speed of the magnetic stirrer = 500 rpm. The third study was the semi – continuous counter current extraction. Six units of 3 litres stainless steel cylinders were used. Each extracter cylinder had a porous cylinder filled up with rambutan peel inside. These six units were partially immersed in the water bath. It was reveaed that for the extraction time of 1/2 hours, the 3% Na2SO3 solvent yielded a better efficiency than using 1% Na2SO3, 50% ethanol and pure water at 70℃. Therefore, Na2SO3 addition is appropriate and does not cause any harm in using since Na2SO3 is a common chemical used in tanning industry. It is concluded that the semi-continuous counter-current extraction system could improve significantly the tannin extraction efficiency in comparision with the batch with mixing system. Meanwhile, the batch without mixing system had the lowest extraction efficiency.

Share

COinS