Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การศึกษาการจัดการชั้นเรียนแบบครูประจำชั้นเพียงคนเดียวในโรงเรียนประถมศึกษา
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
A STUDY OF SELF- CONTAINED CLASSROOM MANAGEMENT IN ELEMENTARY SCHOOLS
Year (A.D.)
2016
Document Type
Thesis
First Advisor
ยศวีร์ สายฟ้า
Faculty/College
Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)
Degree Name
ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
ประถมศึกษา
DOI
10.58837/CHULA.THE.2016.561
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงคเพื่อ (1) ศึกษาจำนวนและสภาพการดำเนินการการจัดการชั้นเรียนแบบครูประจำชั้นเพียงคนเดียว ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนประถมศึกษาในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร และ (2) เพื่อวิเคราะห์ตัวแปรที่ส่งผลต่อการจัดการชั้นเรียนแบบครูประจำชั้นเพียงคนเดียว ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ของโรงเรียนประถมศึกษาในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 3 ของโรงเรียนประถมศึกษาในกรุงเทพมหานคร 3 สังกัด ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร (สนศ.) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) จำนวน 216 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ การหาร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Variances : ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างโรงเรียนประถมศึกษาในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครมีการจัดการชั้นเรียนแบบครูประจำชั้นเพียงคนเดียวเพียงร้อยละ 14.4 และจากการศึกษาสภาพการดำเนินการจัดการชั้นเรียนแบบครูประจำชั้นเพียงคนเดียวในภาพรวมของครูมีการปฏิบัติเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย= 4.24 ) โดยด้านที่มีการปฏิบัติสูงที่สุด คือ ด้านการจัดการชั้นเรียน มีระดับการปฏิบัติมาก (ค่าเฉลี่ย= 4.40 ) รองลงมาคือ ด้านงานประจำชั้น ด้านการติดตามผู้เรียน มีระดับการปฏิบัติมาก (ค่าเฉลี่ย= 4.20 และ 4.19 ) ตามลำดับ และต่ำที่สุด คือ งานสอน มีระดับการปฏิบัติมาก (ค่าเฉลี่ย= 4.18 ) 2. ตัวแปรที่ส่งผลต่อการจัดการชั้นเรียนแบบครูประจำชั้นเพียงคนเดียว ได้แก่ เพศ ขนาดโรงเรียน สังกัดของโรงเรียน ห้องพักครู ภาระงานที่ทำในชั่วโมงว่าง การอบรมการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการและความรู้เรื่องพัฒนาการเด็ก
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The objectives of this research were (1) to study the quantity and implementation of self- contained classroom management in grade 1-3 of the elementary schools in Bangkok area. and (2) to analyze possible variables that effects the self- contained classroom management in grade 1-3 of those schools. The samples used in this study included 216 elementary teachers who have worked in schools under The Office of The Basic Education Commission (OBEC), Department of Education Bangkok Metropolitan Administration (BMA), and Office of The Private Education Commission (OPEC). The research instrument used was the questionnaire. The data was analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation, T-Test, and analysis of variance (ANOVA). The research findings were as follows: 1. Based on the surveyed samples, there were only 14.4% of the elementary schools in Bangkok areas that have administered self-contained classroom management in 1st – 3rd grade classrooms. The overall of self- contained classroom management was in a high level (mean= 4.24). The class management was the highest (mean = 4.40), followed by homeroom and student counseling (mean = 4.20, 4.19). The lowest level was teaching (mean = 4.18). 2. The variance that effected the self - contained classroom management were sex, school size, school’s agency, teacher’s room, extra duties, the training of integrative learning, and the knowledge of child development.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
สุธาเนตร, วรลักษณ์, "การศึกษาการจัดการชั้นเรียนแบบครูประจำชั้นเพียงคนเดียวในโรงเรียนประถมศึกษา" (2016). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 36733.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/36733