Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Functional disability of elderly in Thamprakorn home care for the elderly, Chiangmai province

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

ภาวะทุพพลภาพในผู้สูงอายุสถานสงเคราะห์คนชราธรรมปกรณ์เชียงใหม่

Year (A.D.)

1993

Document Type

Thesis

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

Master of Science

Degree Level

Master's Degree

Degree Discipline

Health Development

DOI

10.58837/CHULA.THE.1993.882

Abstract

This study aims to find out the proportion of the functional disability among elderly in Thamprakorn home, the level of severity and factors associated with functional disability, by interviewing all subjects in the selected area during October to November 1991. Total population are 161, 81 for male and 80 for female. The age range averages from 60 to 93, average ages is 77 years old. The study shows that the proportion of functional disability in basic activity of daily living (BADL) was 27% and for instrumental activity of daily living (IADL) was 69%. In terms of severity we discovered that; dependent in one or more activities in BADL was 11%, 16% need assistance at least in one activity and dependent at least in one activity was 34.2%. For IADL dependent in one or more activities was 45%, need assistance at least in one activity was 28%, and dependent at least in one activity was 59%. It was confirmed that there was statistical significant difference between ages, duration of stay in home care, social function, and depression in dependence and independence in IADL (p < 0.05). Factors associated with BADL were sex, health perception, using assistive device, having th edisease and hemiplegia. On the other hand IADL factors were education, quickwalk, using assisted device, osteoarthritis and hemiplegia. The probable factors that may influence in basic functional activity might be hemiplegia, sex and health perception, and we also found that osteoarthritis was associated with instrumental activity.

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาสัดส่วนของผู้สูงอายุที่มีภาวะทุพพลภาพ ในสถานสงเคราะห์คนชรา ความรุนแรงของความพิการ และปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะทุพพลภาพ โดยมุ่งค้นหาภาวะทุพพลภาพ ในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันส่วนตัว และกิจวัตรประจำวันอื่นๆ การศึกษาครั้งนี้ได้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้สูงอายุโดยใช้แบบสอบถาม ในสถานสงเคราะห์คนชราธรรมปกรณ์ จังหวัดเชียงใหม่ ในระหว่างเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน พ.ศ. 2535 ศึกษาจากผู้สูงอายุทั้งหมด 161 ราย เป็นชาย 81 คน เป็นหญิง 80 ราย ช่วงอายุจาก 60 ถึง 93 ปี อายุเฉลี่ยประมาณ 77 ปี พบว่าภาวะทุพพลภาพในการทำกิจวัตรประจำวันส่วนตัวร้อยละ 27 และภาวะทุพพลภาพในกิจกรรมอื่นๆ นอกเหนือไปจากกิจวัตรส่วนตัวถึงร้อยละ 69 การศึกษาระดับความรุนแรงของความพิการ พบว่าภาวะความพิการที่ต้องการความช่วยเหลือในการทำกิจวัตรประจำวันส่วนตัวถึงร้อยละ 99 ต้องการเพียงการดูแลแนะนำร้อยละ 34 ทำกิจวัตรด้วยตนเองไม่ได้ร้อยละ 11 ส่วนภาวะทุพพลภาพในกิจกรรมอื่นๆ นอกเหนือไปจากกิจวัตรส่วนตัว พบว่าภาวะความพิการที่ต้องการความช่วยเหลือในการทำกิจวัตรประจำวันส่วนตัวเพียงร้อยละ 18 ต้องการเพียงการดูแลแนะนำร้อยละ 59 ทำกิจวัตรด้วยตนเองไม่ได้ร้อยละ 44 การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มที่มีและไม่มีภาวะทุพพลภาพ พบว่ามีความแตกต่างในด้านการรับรู้ ความเครียด และด้านสังคม เฉพาะในกิจกรรมอื่นๆ นอกเหนือไปจากกิจวัตรประจำวันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < .05) ปัจจัยที่มีผลเกี่ยวข้องกับภาวะทุพพลภาพ ในการทำกิจวัตรประจำวันส่วนตัวมี เพศ, การรับรู้, สุขภาพ ความเป็นโรค ความพิการ ส่วนปัจจัยที่มีผลเกี่ยวข้องกับภาวะทุพพลภาพในการทำกิจกรรมอื่นๆ นอกเหนือไปจากกิจวัตรประจำวันส่วนตัวมี การศึกษา, ความเป็นโรค, การใช้เครื่องช่วยพยุง, ความสามารถในการเดินเร็วๆ การอ่านหนังสือได้ รวมถึงการเป็นอัมพาตครึ่งซีก, โรคข้อเสื่อม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Multiple logistic regression พบว่าตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อภาวะทุพพลภาพในการทำกิจวัตรประจำวันส่วนตัว คือ อัมพาตครึ่งซีก, เพศ, การรับรู้สุขภาพ ส่วนตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อภาวะทุพพลภาพ ในการทำกิจวัตรประจำวันส่วนตัวอื่นๆ คือ โรคข้อเสื่อม

Share

COinS