Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้สื่อการเรียนการสอนประเภทต่างๆ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกัน

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

A comparision of behavior in instructional media utilization of Sukhothai Thammathirat Open University students with different learning achievement

Year (A.D.)

1992

Document Type

Thesis

First Advisor

ปทีป เมธาคุณวุฒิ

Second Advisor

ทองอินทร์ วงศ์โสธร

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

ครุศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

อุดมศึกษา

DOI

10.58837/CHULA.THE.1992.330

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจพฤติกรรมการใช้สื่อของนักศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณค่าและความเหมาะสมของสื่อการเรียนการสอบประเภทต่าง ๆ โดยศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนและเข้าสอบไล่ในภาคการศึกษาที่ 2/2532 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการหาค่าร้อยละ การทดสอบค่าไคส-แควร์ และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1. พฤติกรรมการใช้สื่อการเรียนสอนประเภทต่าง ของนักศึกษา นักศึกษาส่วนใหญ่ไม่ได้ศึกษาตามลำดับขั้นตอนและวิธีการที่กำหนดไว้ในเอกสารการสอน นักศึกษาที่สอบผ่านส่วนมากศึกษาจากสื่อหลัก ได้แก่ อ่านเอกสารการสอน หาแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนและหลังเรียน ทำการบันทึกสาระสำคัญและทำกิจกรรมท้ายเรื่องแตกต่างจากนักศึกษาที่สอบไม่ผ่าน ส่วนการดูรายการวิทยุโทรทัศน์ประจำชุดวิชา การฟังรายการวิทยุกระจายเสียงประจำชุดวิชา การอ่านทบทวนเอกสารการสอนและการอ่านทบทวนแบบฝึกปฏิบัติที่ได้ทำแล้ว นักศึกษาทั้งสองกลุ่มมีพฤติกรรมการใช้สื่อการเรียนการสอนไม่แตกต่างกัน 2. ความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวกับคุณค่าและความเหมาะสมของสื่อการเรียนการสอนที่ใช้ คุณค่าของสื่อการเรียนการสอนที่ใช้ นักศึกษาที่สอบผ่านเห็นคุณค่าของเอกสารการสอนแบบฝึกปฏิบัติ รายการวิทยุโทรทัศน์ประจำชุดวิชาระดับมาก และเห็นคุณค่าของรายการวิทยุกระจายเสียงประจำชุดวิชาระดับปานกลาง นักศึกษาที่สอบไม่ผ่านเห็นคุณค่าของสื่อการเรียนการสอนทั้ง 4 ประเภท ระดับปานกลาง เมื่อเปรียบความคิดเห็นในคุณค่าของสื่อการเรียนการสอนที่ใช้ นักศึกษาที่สอบผ่านเห็นคุณค่าของเอกสารการสอน และแบบฝึกปฏิบัติสูงกว่านักศึกษาที่สอบไม่ผ่าน ส่วนคุณค่าของรายการวิทยุโทรทัศน์และรายการวิทยุกระจายเสียงประจำชุดวิชา นักศึกษาทั้งสองกลุ่มเห็นคุณค่าไม่แตกต่างกัน ความเหมาะสมของสื่อการเรียนการสอนที่ใช้ นักศึกษาที่สอบผ่านเห็นว่าเอกสารการสอน แบบฝึกปฏิบัติมีความเหมาะสมระดับมาก และเห็นว่ารายการวิทยุโทรทัศน์และรายการวิทยุกระจายเสียงประจำชุดวิชา มีความเหมาะสมระดับปานกลาง นักศึกษาที่สอบไม่ผ่านเห็นว่าเอกสารการสอนมีความเหมาะสมระดับมาก และเห็นว่าแบบฝึกปฏิบัติ รายการวิทยุโทรทัศน์และรายการวิทยุกระจายเสียงประจำชุดวิชา มีความเหมาะสมระดับปานกลาง เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของสื่อการเรียนการสอนที่ใช้ นักศึกษาที่สอบผ่าน เห็นว่าเอกสารการสอนและแบบฝึกปฏิบัติ มีความเหมาะสมมากกว่านักศึกษาที่สอบไม่ผ่าน ส่วนความเหมาะสมองของรายการวิทยุโทรทัศน์ และรายการวิทยุกระจายเสียงประจำชุดวิชา นักศึกษาทั้งสองกลุ่มมีความเห็นไม่แตกด่างกัน

Share

COinS