Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเปรียบเทียบปฏิกิริยาผื่นผิวหนังแบบ eczema จากการทดสอบ patch test ด้วยสาร aeroallergen ในเด็กโรคภูมิแพ้ที่เป็น atopic dermatitis กับไม่เป็น atopic dermatitis

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

A comparative study of eczematous skin reaction from patch testing with aeroallergen in atopic children with and without atopic dermatitis

Year (A.D.)

1992

Document Type

Thesis

First Advisor

พรทิพย์ หุยประเสริฐ

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

อายุรศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.1992.633

Abstract

เพื่อเปรียบเทียบปฏิกิริยาผื่นผิวหนังแบบ eczema จากการทำ patch test ด้วยสาร aeroallergen ในเด็กโรคภูมิแพ้ที่เป็น atopic dermatitis กับไม่เป็น atopic dermatitis ได้ทำการศึกษาแบบ cross-sectional analytic study ในเด็กที่เป็น atopic dermatitis 30 ราย อายุ 2-14 ปี เปรียบเทียบกับเด็กที่เป็น atopy แต่ไม่มีอาการ atopic dermatitis 30 ราย อายุ 2-21 ปี ที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยใช้สาร aeroallergen 5 ชนิด คือ house dust, mite, cockroach, mixed mold และ mixed grass ทำ patch test บนผิวหนังที่ถูกลอกเพื่อให้สารผ่านเข้าสู่ผิวหนังได้ง่ายขึ้นด้วย adhesive tape 10 ครั้ง บริเวณด้านหลังส่วนบน และทำ intradermal test ด้วยสารเดียวกันที่บริเวณแขน ผลการวิจัยพบว่าเด็กที่เป็น atopic dermatitis มีอัตราการเกิดผื่นแบบ eczema ร้อยละ 90 ในบริเวณทดสอบ patch test โดยเรียงลำดับสารจากมากไปน้อยดังนี้คือ mite, cockroach, house dust, mixed mold และ mixed mold และ mixed grass โดยมีอัตราเกิดผื่นร้อยละ 70 (21 ราย), 70 (21 ราย), 63 (19 ราย), 50 (15 ราย) และ 43 (13 ราย) ตามลำดับ และมีเด็ก 3 ราย ใน 30 ราย คิดเป็นร้อยละ 10 ที่มีผื่นกำเริบขึ้นที่รอยโรคเดิมคือที่ข้อพับแขนและข้อพับขาในขณะที่ทำการทดสอบ ส่วนเด็กที่เป็น atopy แต่ไม่มีอาการ atopic dermatitis มีอัตราการเกิดผื่นแบบ eczema บริเวณ patch test เพียง 3 รายใน 30 ราย คิดเป็นร้อยละ 10 ซึ่งแตกต่างจากลุ่มที่เป็น atopic dermatitis อย่างมีนัยสำคัญ (P value <10⁻⁶) โดยที่เด็กทั้ง 2 กลุ่มให้ผล intradermal test ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P value > 0.05) การศึกษานี้สนับสนุนการศึกษาที่ผ่านมาที่ว่า aeroallergen มีบทบาทสำคัญในการทำให้เกิดผื่นเฉพาะของโรค atopic dermatitis

Share

COinS