Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
ความสัมพันธ์ระหว่างตัวป้อนภาษาและปฏิสัมพันธ์ในห้องเรียน กับผลสัมฤทธิ์ในการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ระดับอุดมศึกษา ในกรุงเทพมหานคร : การวิเคราะห์พหุระดับ
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
The relationships between language input and classroom interaction with english learning achievement of first year undergraduate students, Bangkok metropolis : the multilevel analysis
Year (A.D.)
1992
Document Type
Thesis
First Advisor
สุมิตรา อังวัฒนกุล
Second Advisor
ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
หลักสูตรและการสอน
DOI
10.58837/CHULA.THE.1992.326
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวป้อนภาษาและปฏิสัมพันธ์ในห้องเรียนกับผลสัมฤทธิ์ในการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ระดับอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานครและศึกษาความสัมพันธ์เชิงพหุคูณระหว่างตัวป้อนภาษาและปฏิสัมพันธ์ในห้องเรียนกับผลสัมฤทธิ์ในการเรียนภาษาอังกฤษโดยใช้การวิเคราะห์พหุระดับ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า ตัวป้อนภาษาด้านไวยากรณ์ การปฏิบัติต่อข้อผิดพลาดของนักศึกษาและปฏิสัมพันธ์ของนักศึกษามีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ในการเรียนภาษาอังกฤษ และเมื่อจำแนกตัวป้อนภาษาและปฏิสัมพันธ์ของอาจารย์ออกเป็นพฤติกรรมย่อย พบว่า ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ในการเรียนภาษาอังกฤษ ได้แก่ ตัวป้อนโครงสร้าง Present Simple Tense ตัวป้อนโครงสร้าง Present Perfect Tense ตัวป้อนโครงสร้าง Yes/No Questions ตัวป้อนสถานการณ์การใช้ภาษา ตัวป้อนการถ่ายโอนข้อความ การให้ตัวแบบภาษา การประเมินคำตอบ การให้การเสริมแรง การตรวจสอบเพื่อยืนยันการแก้ไขข้อผิดพลาดให้นักศึกษา และการชี้แนะให้นักศึกษาแก้ไขข้อผิดพลาดด้วยตนเอง 2. เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงพหุคูณโดยใช้การวิเคราะห์พหุระดับ พบว่า ในระดับนักศึกษาปฏิสัมพันธ์ของนักศึกษาสามารถทำนายคะแนนผลสัมฤทธิ์ในการเรียนภาษาอังกฤษ ในระดับห้องเรียน ตัวแปร ที่สามารถทำนายระดับคะแนนผลสัมฤทธิ์ในการเรียนภาษาอังกฤษได้แก่ ตัวป้อนโครงสร้าง Wh-Questions ตัวป้อนสถานการณ์ใช้ภาษา ตัวป้อนคำอ้างอิง การประเมินคำตอบ การเปลี่ยนโครงสร้างประโยค การขอความกระจ่าง การยอมให้มีข้อผิดพลาด และการพูดซ้ำคำพูดตนเอง และตัวแปรที่มีผลต่อคะแนนผลสัมฤทธิ์ในการเรียนภาษาอังกฤษโดยส่งผลต่อระดับความสัมพันธ์ระหว่างปฏิสัมพันธ์ของนักศึกษากับผลสัมฤทธิ์ในการเรียนภาษาอังกฤษ ได้แก่ ตัวป้อนโครงสร้าง yes/no Question ตัวป้อนโครงสร้าง Past Simple Tense ตัวป้อนเนื้อหาสาระของการสือสาร ตัวป้อนการหลีกเลี่ยงข้อความ การประเมินคำตอบและการให้นักศึกษาคนอื่นแก้ไขข้อผิดพลาด
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ป. สัตยารักษ์, สมพิศ, "ความสัมพันธ์ระหว่างตัวป้อนภาษาและปฏิสัมพันธ์ในห้องเรียน กับผลสัมฤทธิ์ในการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ระดับอุดมศึกษา ในกรุงเทพมหานคร : การวิเคราะห์พหุระดับ" (1992). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 36500.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/36500