Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีของพลาสโมเดียม ฟัลซิปารัม ระยะที่อยู่ในเม็ดเลือดแดง

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Production of monoclonal antibodies against the erythrocytic stages of plasmodium falciparum

Year (A.D.)

1992

Document Type

Thesis

First Advisor

วิมล พานิชยการ

Second Advisor

สดศรี ไทยทอง

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

สัตววิทยา

DOI

10.58837/CHULA.THE.1992.630

Abstract

การผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีต่อเชื้อ พลาสโมเดียม ฟัลซิปารัม ระยะที่อยู่ในเม็ดเลือดแดงโดยทำการเชื่อมเซลล์ NS-1 ซึ่งเป็นเซลล์ myeloma กับเซลล์ม้ามของหนู Balb/c ที่ถูกกระตุ้นภูมิคุ้มกัน จากการเชื่อมเซลล์ 8 ครั้งได้เซลล์ลูกผสมทั้งหมดจำนวน 1024 หลุมของจานเพาะเลี้ยงเซลล์ และมีอยู่ 177 หลุม (17.5%) ที่หลั่งแอนติบอดีที่มีความจำเพาะกับเชื้อมาลาเรียและได้คัดเลือกมา 13 หลุมเพื่อทำ single cell cloning ได้ monoclone ทั้งหมด 58 monoclone สามารถจำแนกโมโนโคลนอลแอนติบอดีตามรูปแบบการติดสีสารเรืองแสงได้เป็น 6 กลุ่ม ดังนี้ คือ กลุ่มที่ 1 ทำปฏิกิริยากับ rhoptry organelle ของเชื้อมาลาเรียระยะ schizont และ merozoite กลุ่มที่ 2 ทำปฏิกิริยาเรืองแสงเข้มที่บริเวณผิวเซลล์ของ schizont และ merozite ที่อยู่ภายในเซลล์ schizont การติดสีสารเรืองแสงของกลุ่มนี้มีลักษณะคล้ายพวงองุ่น กลุ่มที่ 3 ทำปฏิกิริยาเรืองแสงเป็นจุดเล็กๆ บริเวณเยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ติดเชื้อ กลุ่มที่ 4 ติดสีสารเรืองแสงที่บริเวณไซโตปลาสซึมของเชื้อทุกระยะการเจริญในเม็ดเลือดแดงรวมทั้งระยะ gametocyte กลุ่มที่ 5 ทำปฏิกิริยาเรืองแสงที่เยื้อหุ้ม parasitophorous vacuole ของเชื้อ และกลุ่มที่ 6 นั้นจะทำปฏิกิริยาเรืองแสงบริเวณไซโตปลาสซึมและผิวเซลล์ของเชื้อทุกระยะการเจริญรวมทั้งระยะ gametocyte เมื่อนำโมโนโคลนอลแอนติบอดีกลุ่มที่ 2-6 มาใช้ศึกษาความหลากหลายของแอนติเจนของเชื้อมาลาเรีย พลาสโมเดียม ฟัลซิปารัม 18 ไอโซเลตที่ได้จากผู้ป่วยในประเทศไทยที่อยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค สามารถจำแนกไอโซเลตของเชื้อมาลาเรียดังกล่าวออกเป็นไทพ์ต่างๆ ได้ 10 ไทพ์

Share

COinS