Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ภาวะสุขภาพและการรักษาพยาบาลของผู้สูงอายุไทย

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Health status and health care of the Thai elderly

Year (A.D.)

1992

Document Type

Thesis

First Advisor

นภาพร ชโยวรรณ

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

สังคมวิทยามหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

DOI

10.58837/CHULA.THE.1992.763

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่า ผู้สูงอายุที่มีลักษณะทางประชากร เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม พฤติกรรมอนามัย และลักษณะอื่นๆ ที่แตกต่างกัน จะมีภาวะสุขภาพและการรักษาพยาบาลที่ต่างกันอย่างไร โดยใช้ข้อมูลการสำรวจเกี่ยวกับสวัสดิการอนามัยและการใช้ยาแผนโบราณ พ.ศ. 2529 ตัวอย่างที่ศึกษาคือ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีและมากกว่า จำนวน 6,095 ราย การศึกษาเกี่ยวกับภาวะสุขภาพซึ่งวัดด้วยการเจ็บป่วยและหรือบาดเจ็บในระยะ 2 สัปดาห์ ก่อนการสำรวจ พบว่า ตัวแปรภูมิหลังต่างๆ ที่นำมาศึกษา เขตที่อยู่อาศัย เป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลอย่างชัดเจนต่อภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ กล่าวคือ ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ เจ็บป่วยและหรือบาด เจ็บน้อยกว่าผู้สูงอายุ ที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองอื่นและชนบท สำหรับตัวแปรการศึกษามีผลต่อความแตกต่าง ในภาวะสุขภาพของผู้สงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุในภาคเหนือ ส่วนตัวแปรอายุ เพศ ลักษณะของงานที่ทำ ขนาดครัวเรือน ภาคและการสูบบุหรี่ ไม่มีผลต่อภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ การศึกษาเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลซึ่งวัดด้วย แบบแผนการรักษาพยาบาลในระยะ 12 เดือนก่อนการสำรวจที่ผู้สูงอายุที่ป่วยเลือกใช้ พบว่า เขตที่อยู่อาศัยและอาการที่ป่วย มีผลต่อแบบแผนการรักษาพยาบาลที่ผู้สูงอายุที่ป่วยเลือกใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กล่าวคือ ผู้สูงอายุที่ป่วยในชนบทเลือกใช้สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ มากกว่าผู้สูงอายุที่ป่วยในกรุงเทพฯ และเขตเมืองอื่น ผู้สูงอายุที่ป่วยเรื้อรังในระยะ 2 สัปดาห์ก่อนการสำรวจ เลือกใช้สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ มากกว่าผู้สูงอายุที่ป่วยไม่เรื้อรังและไม่ป่วย สำหรับตัวแปรอายุและการศึกษา มีผลให้เกิดความแตกต่างใน แบบแผนการรักษาพยาบาลของผู้สูงอายุเฉพาะในชนบท แบบแผนการรักษาพยาบาลฯ แตกต่างตาม ภาค เฉพาะในผู้สูงอายุที่ไม่ได้รับการศึกษาและกลุ่มประถมศึกษา ส่วนตัวแปรเพศ ลักษณะของงานที่ทำ และขนาดครัวเรือน มีผลต่อแบบแผนการรักษาพยาบาลของผู้สูงอายุค่อนข้างน้อยหรือไม่มีเลย สำหรับการศึกษาเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่วัดด้วยการใช้ยาสมุนไพร พบว่า ตัวแปรที่มีผลต่อการใช้ยาสมุนไพรเพื่อการรักษา ในระยะ 12 เดือนก่อนการสำรวจของผู้สูงอายุที่ป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ขนาดครัวเรือน เขตที่อยู่อาศัย ภาคและอาการที่ป่วย แต่มีเพียงตัวแปรเขตที่อยู่ อาศัยเท่านั้น ที่มีทิศทางความสัมพันธ์กับการใช้ยาสมุนไพรเป็นไปตามสมมติฐาน คือ ผู้สูงอายุที่อยู่ใน กรุงเทพฯ ใช้ยาสมุนไพรเพื่อการรักษาน้อยกว่าผู้สูงอายุในเขตเมืองและชนบท สำหรับตัวแปร อายุ เพศ ลักษณะของงานที่ทำและการศึกษา ไม่มีผลต่อการใช้ยาสมุนไพรเพื่อการรักษาของผู้สูงอายุที่ป่วย

Share

COinS