Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะโภชนาการของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดสุรินทร์
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Factors affecting nutritional state of primary school students grade 6 in surin province
Year (A.D.)
1992
Document Type
Thesis
First Advisor
ภัสสร ลิมานนท์
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
สังคมวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
DOI
10.58837/CHULA.THE.1992.762
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางประชากร เศรษฐกิจสังคม และภาวะแวดล้อมทางกายภาพของชุมชน กับภาวะโภชนาการของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดสุรินทร์ โดยมีปัจจัยทางพฤติกรรมการบริโภคคือ ความถี่ในการบริโภคอาหารหลัก 3 ประเภท และพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการ เป็นตัวแปรกลาง หน่วยตัวอย่างที่เป็นตัวแทนในการศึกษาครั้งนี้คือ นักเรียนที่กำลังเรียนอยู่ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และสังกัดการประถมศึกษา เป็นชาย 515 คน หญิง 531 คน รวมทั้งสิ้น 1,046 คน ผลการศึกษาพบว่าตัวแปรอิสระหลายตัว เมื่อไม่มีตัวแปรกลางคือ ความถี่ในการบริโภคอาหารหลัก 3 ประเภท และพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการ มีตัวแปรอิสระหลายตัว ได้แก่ จำนวนสมาชิกในครอบครัว จำนวนพี่น้องร่วมมารดาเดียวกัน ลำดับที่ของการเป็นบุตร อาชีพหลักของบิดามารดา ระดับการศึกษาของบิดามารดา รายได้ของครอบครัว ความเชื่อเกี่ยวกับการบริโภคอาหารเขตที่อยู่อาศับ การมีโครงการประมงหรือเลี้ยงสัตว์ในชุมชนที่อยู่อาศัย มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับต่ำกว่า .05 แต่เมื่อมีตัวแปรกลางคือ ความถี่ในการบริโภคอาหารหลัก 3 ประเภทพบว่า ตัวแปรอิสระคือความเชื่อในการบริโภคอาหารในทุกระดับความถี่ในการบริโภคอาหารหลัก 3 ประเภท ไม่ว่าในระดับสูง ปานกลาง และต่ำ อาชีพหลักของบิดา และการมีโครงการประมงหรือเลี้ยงสัตว์ในชุมชนที่อยู่อาศัยเฉพาะกลุ่มที่มีความถี่ในการบริโภคอาหารหลัก 3 ประเภทในระดับสูงและปานกลาง ระดับการศึกษาของมารดาเฉพาะกลุ่มที่มีความถี่ในการบริโภคอาหารหลัก 3 ประเภทในระดับปานกลาง รายได้ของครอบครัวและระดับการศึกษาของบิดาเฉพาะกลุ่มที่มีการบริโภคอาหารหลัก 3 ประเภท ในระดับต่ำ ที่มีอิทธิพลต่อภาวะโภชนาการของนักเรียนอย่างชัดเจน และเมื่อมีตัวแปรกลางคือ พฤติกรรมการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการ พบว่าตัวแปรอิสระที่มีอิทธิพลอย่างชัดเจนต่อภาวะโภชนาการของนักเรียน ได้แก่ ความเชื่อในการบริโภคอาหารและการมีโครงการประมงหรือเลี้ยงสัตว์ในชุมชนที่อยู่อาศัย ในทุกระดับของพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการไม่ว่าในระดับสูง ปานกลาง และต่ำ จำนวนสมาชิกในครอบครัว อาชีพหลักของบิดาเฉพาะกลุ่มที่มีพฤติกรรมการบริโภคตามหลักโภชนาการในระดับปานกลาง และต่ำ อาชีพหลักของมารดา และระดับการศึกษาของบิดา เฉพาะกลุ่มที่มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการในระดับปานกลาง เพศของนักเรียน จำนวนพี่น้องร่วมมารดาเดียวกัน รายได้ของครอบครัว และเขตที่อยู่อาศัย เฉพาะกลุ่มที่มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการในระดับต่ำเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาครั้งนี้ได้พบประเด็นสำคัญคือ ปัจจัยที่เป็นตัวแปรกลางทั้งสองตัวแปรมีบทบาทต่อภาวะโภชนาการของนักเรียนมาก แม้ว่าในบางกรณีปัจจัยเหล่านี้จะไม่มีอิทธิพลโดยตรงก็ตามแต่มีผลให้เกิดความแตกต่างในภาวะโภชนาการระดับต่างๆ ได้ โดยพิจารณาได้จากค่าร้อยละในทุกตารางที่แสดงไว้ในบทที่ 3 พบว่านักเรียนที่อยู่ในกลุ่มตัวแปรกลางสองตัวที่มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารในระดับสูง มีสัดส่วนน้อยมากที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าระดับปกติ ขณะที่นักเรียนที่อยู่ในกลุ่มของตัวแปรกลางทั้งสองตัวแปรที่มีพฤติกรรมการบริกโภคอาหารในระดับต่ำ มีแนวโน้มการมีภาวะโภชนาการต่ำกว่าระดับปกติในสัดส่วนที่สูงขึ้นมาก เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มแรก
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
มุกต์ธนะอนันต์, ศรีสว่าง, "ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะโภชนาการของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดสุรินทร์" (1992). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 36488.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/36488