Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาพิธีบุญหลังบ้าน : กรณีศึกษาหมู่บ้านกระเดื่อง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Bun Lang Ban Ceremony : A Case Study of Ban Kraduaug Village Phra Nakhon si Ayuthaya Province

Year (A.D.)

1992

Document Type

Thesis

First Advisor

อมรา พงศาพิชญ์

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

มานุษยวิทยามหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

DOI

10.58837/CHULA.THE.1992.465

Abstract

พิธีบุญหลังบ้าน และพิธีเสียกะแบะกะบาน แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ พิธีกรรมตามแนวพุทธศาสนา และพิธีกรรมตามความเชื่อดังเดิมที่เกี่ยวกับการนับถือผี การสะเดาะเคราะห์ในการส่งปีเก่ารับปีใหม่ของไทย ของหมู่บ้านกระเดื่องทำกันมาจนเป็นประเพณีในเดือน 5 หรือเมษายนของทุกปีหลังจากทำพิธีทำบุญ สงกรานต์แล้ว จากการใช้การตีความทางสัญลักษณ์ ทำให้พบว่า นอกจากพิธีบุญหลังบ้านจะเป็นพิธีเกี่ยวกับการสะเดาะเคราะห์แล้วยังทำให้ เห็นการแปงหน้าที่ตามบทบาทของ เพศหญิงและเพศชาย จากการจัดระเบียบทางสังคม ในขณะเดียวกันพิธีนี้สะท้อนให้เห็นถึงบรรทัดฐานที่แบ่งแยกบทบาทหน้าที่ของเพศหญิง และเพศชาย ซึ่งกำหนดโดยโลกทัศน์ และความเชื่อที่ได้รับอิทธิพลของศาสนาพุทธ พราหมณ์ และการนับถือผี (Animism) การวิ เคราะห์เชิงสัญลักษณ์ทำให้มองเห็นลักษณะโครงสร้างทางสังคมและการจัดระเบียบ ทางสังคมของหมู่บ้านกระเดื่อง รายงานการวิจัยนี้เป็นการศึกษาพิธีบุญแล้งบ้านของชาวบ้านหมู่บ้านกระเดื่อง ในตำบลบางบาล อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อที่จะหาความหมายของสัญลักษณ์ในพิธีนี้ ให้เข้าใจทั้งระบบคิดและความเชื่อของชาวบ้านกระเดื่อง อันจะเป็นประโยชน์ในการที่จะเข้าใจความหมายที่แท้จริงของความคิดในการประกอบพิธีกรรม การใช้สิ่งต่างๆ ในสภาพแวดล้อมแทนความคิดความเชื่อและความรู้สึกนั้นในบริบทของสังคม ชาวบ้านกระเดื่อง ความเข้าใจความหมายทางวัฒนธรรมได้ถูกต้องจะเป็นประโยชน์ในการที่จะเข้าใจพื้นฐานทางความคิด ความเชื่อ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาอันจะเป็นผลต่อความเจริญหน้าของประเทศ

Share

COinS