Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
สภาพและความต้องการของครูประจำชั้นในการสอนศิลปศึกษา ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดแม่ฮ่องสอน
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
State and need of classroom teachers in teaching art education in small-size elementary schools under the jurisdiction of the Office of Mae Hong Son Provincial Primary Education
Year (A.D.)
1992
Document Type
Thesis
First Advisor
ปุณณรัตน์ พิชญไพบูลย์
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
ศิลปศึกษา
DOI
10.58837/CHULA.THE.1992.319
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและความต้องการของครูประจำชั้น ในการสอนศิลปศึกษา ในด้านกิจกรรมการสอน การผลิตและการใช้สื่อการสอน การวัดผลและประเมินผล และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพกับความต้องการของครูประจำชั้นในการสอนศิลปศึกษาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน โดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป MICROSTAT แล้วนำเสนอข้อมูลในรูปตารางประกอบความเรียง ผลการวิจัยพบว่า ในด้านสภาพการปฏิบัติการสอนศิลปศึกษา ครูประจำชั้นมีการปฏิบัติในด้านกิจกรรมการสอน การผลิตและการใช้สื่อการสอน การวัดผลและประเมินผล โดยส่วนร่วมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อจำแนกเฉพาะด้าน พบว่า 1. ด้านกิจกรรมการสอนมีการปฏิบัติมากที่สุด คือการเดินสังเกตและให้คำแนะนำช่วยเหลือในขณะที่นักเรียนทำงาน 2. การผลิตและการใช้สื่อการสอน มีการปฏิบัติมากที่สุด คือการใช้สื่อต่างๆ เช่น รูปภาพของจริง เพื่อสร้างความบันดาลใจให้นักเรียนเกิดความคิดใหม่ๆ 3. ด้านการวัดผลและประเมินผล มีการปฏิบัติมากที่สุด คือการวัดผลและประเมินผล โดยคำนึงถึงพัฒนาการและสังเกตพฤติกรรมการเรียนศิลปะ และการวัดผลประเมินผล โดยการตรวจผลงานศิลปะของนักเรียน ในด้านความต้องการในการสอนศิลปศึกษา ครูประจำชั้นมีความต้องการโดยส่วนรวมอยู่ในระดับมากเมื่อจำแนกเฉพาะด้านพบว่า 1. ด้านกิจกรรมการสอน มีความต้องการมากที่สุด คือการเข้ารับการฝึกอบรมเทคนิคและวิธีสอนศิลปะในรูปแบบต่างๆ เพื่อจูงความสนใจของนักเรียน 2. ด้านการผลิตและการใช้สื่อการสอนมีความต้องการมากที่สุด คือ การเข้ารับการฝึกอบรม วิธีการใช้วัสดุเหลือใช้ หรือวัสดุธรรมชาติที่หาได้ในท้องถิ่นมาผลิตสื่อการสอน 3. ด้านการวัดผลประเมินผล มีความต้องการมากที่สุดคือ การได้รับเครื่องมือ หรือแบบฟอร์มการประเมินผลสำเร็จรูปของวิชาศิลปะแต่ละกิจกรรม ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างสภาพกับความต้องการในการสอนศิลปศึกษา พบว่า มีความสัมพันธ์กันในระดับต่ำ คือมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .193 เป็นความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
เสาจินดารัตน์, เทียนชัย, "สภาพและความต้องการของครูประจำชั้นในการสอนศิลปศึกษา ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดแม่ฮ่องสอน" (1992). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 36452.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/36452