Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การตัดสินใจทางเศรษฐมิติในโครงการลงทุนโรงงานจัดสรร ประเภทอุตสาหกรรมการประกอบขนาดย่อมเพื่อการส่งออก

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Econometric decision making for investment project in mini-assembly factory factory for export purpose

Year (A.D.)

1992

Document Type

Thesis

First Advisor

สุทัศน์ รัตนเกื้อกังวาน

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

วิศวกรรมอุตสาหการ

DOI

10.58837/CHULA.THE.1992.712

Abstract

วิทยานิพนธ์นี้เป็นการนำเศรษฐมิติ (Econometric) มาประยุกต์ใช้ในการตัดสินใจในการคัดเลือกประเภทอุตสาหกรรม เพื่อการลงทุนในโครงการโรงงานจัดสรรขนาดย่อมแบบจำลองเศรษฐมิติที่สร้างขึ้นนี้เป็นแบบจำลองที่ใช้เพื่อการพยากรณ์มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมประกอบขนาดย่อม 6 ชนิดได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป อัญมณีและเครื่องประดับ รองเท้า เครื่องใช้สำหรับเดินทาง เฟอร์นิเจอร์และของเด็กเล่น โดยตัวแปรอิสระใช้ในแบบจำลองคือ ปริมาณวัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตสินค้าประเภทนั้น ๆ ปริมาณแรงงานในภาคอุตสาหกรรม และมูลค่าการนำเข้าสินค้าประเภทนั้น ๆ ทั้งหมดทั่วโลกแต่เพื่อให้โครงการฯ มีความเฉพาะกับประเภทอุตสาหกรรมให้มากที่สุด จึงต้องมีการคัดเลือกอุตสาหกรรมทั้ง 6 ประเภทดังกล่าว เกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินใจคัดเลือกก็คือ ผลการพยากรณ์มูลค่าการส่งออกสินค้าประเภทนั้นในอนาคต การวิเคราะห์ทางสถิติแบบจำลอง และปัจจัยในการวางผังและออกแบบโรงงาน จากการพิจารณาได้ตัดสินใจคัดเลือกอุตสาหกรรมเพื่อนำมากำหนดรูปแบบในการสร้างมินิแฟคตอรี่คือ เสื้อผ้าสำเร็จรูป อัญมณีและเครื่องประดับ รองเท้า และเครื่องใช้สำหรับเดินทาง เมื่อคัดเลือกอุตสาหกรรมแล้วก็นำมาใช้พิจารณาในการกำหนดรูปแบบโครงการฯ เนื่องจากอุตสาหกรรมทั้ง 4 ประเภทนี้เป็นอุตสาหกรรมการประกอบขนาดเบาและไม่ก่อให้เกิดปัญหามลภาวะ ดังนั้นรูปแบบมินิแฟคตอรี่จึงสามารถสร้างได้หลายชั้นและแต่ละชั้นไม่จำเป็นต้องมีความสูงมากเนื่องจากการผลิตสินค้าทั้ง 4 ประเภทดังกล่าวไม่ได้ใช้ประโยชน์จากความสูงของอาคาร รูปแบบมินิแฟคตอรี่ที่จะสร้างจะมีขนาดกว้าง ยาว 6x16 เมตร 3 ชั้น มีชั้นลอยและดาดฟ้า ด้านหน้าออกแบบให้สวยงามเพื่อใช้เป็นสำนักงานได้ด้านหลังมีทางเข้าออกสำหรับรถบรรทุกแยกเฉพาะแต่ละโรงงานไม่ปะปนกัน โดยจะมีพื้นที่รวม 420 ตารางเมตร กำหนดราคาขายที่ 11,000 บาทต่อ ตรม. สำหรับในส่วนผู้ลงทุนโครงการฯ จากตัวอย่างโครงการที่ยกมาพบว่าโครงการที่มีพื้นที่ประมาณ 10 ไร่ จะมีหน่วยขาย 80 หน่วย ใช้งบประมาณลงทุนทั้งสิ้น 252,960,000 บาท มีกำไรจากโครงการทั้งสิ้นประมาณ 116,640,000 บาท NPV เท่ากับ 84,882,587.65 บาท IRR เท่ากับ 35.53%

Share

COinS