Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การบำบัดน้ำเสียทางชีววิทยาแบบใช้ออกซิเจน โดยกระบวนการฟลูอิดไดซ์เบด

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Aerobic biological wastewater treatment by fluidized bed process

Year (A.D.)

1992

Document Type

Thesis

First Advisor

สุทธิรักษ์ สุจริตตานนท์

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

DOI

10.58837/CHULA.THE.1992.698

Abstract

กระบวนการฟลูอิดไดซ์เบดที่ใช้บำบัดน้ำเสียทางชีววิทยาแบบใช้ออกซิเจนในการทดลองนี้ ใช้ท่ออะคริลิคขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 7.62 ซม. ความสูง 3.00 เมตร เป็นถังปฏิกรณ์ และทรายขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.48-0.60 มม. เป็นอนุภาคตัวกลางบรรจุอยู่ในถังปฏิกรณ์มีความสูงของเบดนิ่งเท่ากับ 100 ซม. การทดลองครั้งนี้แบ่งเป็น 6 การทดลอง โดยแปรเปลี่ยนความเข้มข้นซีโอดีที่ป้อนเข้าสู่ระบบประมาณ 300 และ 500 มก. ต่อลิตรและความเร็วไหลขึ้นของน้ำเท่ากับ 20, 25 และ 30 เมตรต่อชั่วโมง แล้วพิจารณาการทำงานของระบบด้วยประสิทธิภาพในการกำจัดสารอินทรีย์ในรูปของซีโอดีและปริมาณออกซิเจนละลายน้ำในถังปฏิกรณ์ ซึ่งกระบวนการนี้จะเป็นการรวมตะกอนจุลินทรีย์ทั้งชนิดแขวนลอยและชนิดยึดเกาะติดผิวอนุภาคทรายในการย่อยสลายสารอินทรีย์ จากการทดลองพบว่า กระบวนการฟลูอิดไดซ์เบดมีความสามารถในการกำจัดซีโอดีได้เป็นอย่างดี กล่าวคือ ประสิทธิภาพในการกำจัดซีโอดีของกระบวนการมีค่าเท่ากับร้อยละ 78.66-86.30 และ 93.36-96.92 สำหรับซีโอดีทั้งหมดและซีโอดีละลายตามลำดับ ที่ความเข้มข้นของออกซิเจนละลายน้ำเข้าระบบต่ำประมาณ 6.70-7.50 มก.ต่อลิตร และระยะเวลาการกักเก็บน้ำที่ต่ำเท่ากับ 5.70-8.55 นาที นอกจากนั้นยังพบว่าน้ำทิ้งออกจากระบบจะให้ค่าเฉลี่ยซีโอดีละลายเท่ากับ 13-23 มก.ต่อลิตร และค่าเฉลี่ยตะกอนแขวนลอยเท่ากับ 19-41 มก.ต่อลิตร เมื่อพิจารณาจากการทดลองจะเห็นว่าประสิทธิภาพของระบบจะขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของน้ำเสียที่ป้อนเข้าสู่ระบบ ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำที่ให้ระบบและระยะเวลาการกักเก็บน้ำที่มีผลมากจากความเร็วไหลขึ้นของน้ำ โดยประสิทธิภาพในการกำจัดจะลดลงตามการเพิ่มความเร็วไหลขึ้นของน้ำ

Share

COinS