Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การกำจัดตะกั่วโดยการตกผลึกในกระบวนการฟลูอิดไดซ์เบด
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Lead removal by crystallization in fluidized bed process
Year (A.D.)
1992
Document Type
Thesis
First Advisor
สุทธิรักษ์ สุจริตตานนท์
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
DOI
10.58837/CHULA.THE.1992.694
Abstract
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาหาสภาวะที่เหมาะสม และประสิทธิภาพในการกำจัดตะกั่วโดยการตกผลึกในกระบวนการฟลูอิตไดซ์เบต ทำการศึกษาที่ระดับความเข้มข้นตะกั่ว 200,100,50,10, 5 มก./ล. สภาวะที่ทำการศึกษาคือ พีเอช และความสูงของทราย สารเคมีที่ใช้ในการปรับพีเอชคือ โซดาแอช ทำการศึกษาที่พีเอช7.5-9.5 และความสูงของทราย 1.0-2.0 ม. โดยใช้ทรายขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.85-1.20 มม. ที่ความเร็วน้ำไหลขึ้นเท่ากับ 1.5 เท่าของความเร็วต่ำสุดของการเกิดสภาวะเสมือนของไหล ผลการทดลองพบว่า สภาวะที่เหมาะสมในการกำจัดตะกั่ว คือ พีเอช 9.5 และความสูงของทราย 2.0 ม. ที่ความเข้มข้นของตะกั่ว 200, 100 และ 50 มก./ล. ให้ประสิทธิภาพในการกำจัดในรูปตะกั่วทั้งหมดเท่ากับ 44.50, 58.89 และ 67.96% และในรูปตะกั่วละลาย ให้ประสิทธิภาพในการกำจัดเพิ่มขึ้นคือ 99.64, 99.11 และ 98.88% ตามลำดับ ส่วนตะกั่วความเข้มข้น 10 และ 5 มก./ล. สภาวะเหมาะสมที่มีผลต่อการกำจัดมากที่สุดคือ พีเอช ส่วนความสูงของทรายมีผลต่อการเพิ่มการกำจัดน้อยมาก สภาวะที่เหมาะสมในการกำจัดตะกั่วความเข้มข้น 10 และ 5 มก./ล. คือ พีเอช 9.5 และความสูงทราย 2.0 ม. ให้ประสิทธิภาพในการกำจัดในรูปตะกั่วทั้งหมดเท่ากับ 90.05 และ 90.40% และประสิทธิภาพในการกำจัดในรูปตะกั่วละลายเท่ากับ 98.17 และ 98.09% ตามลำดับ
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
เจตน์สัมฤทธิ์, อัญชลี, "การกำจัดตะกั่วโดยการตกผลึกในกระบวนการฟลูอิดไดซ์เบด" (1992). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 36417.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/36417