Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การกำจัดไนเตรตจากน้ำด้วยกระบวนการออโตโทรฟิก ดีไนตริฟิเคชันในถังกรองซัลเฟอร์-หินปูน

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Nitrate removal from water using Autotrophic Denitrification process in a sulfur-limestone filter

Year (A.D.)

1992

Document Type

Thesis

First Advisor

มั่นสิน ตัลหุลเวศม์

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

DOI

10.58837/CHULA.THE.1992.691

Abstract

ความมุ่งหมายของการศึกษาวิจัยนี้ เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ถังกรองเอดี เพื่อกำจัดไนเตรตจากน้ำด้วยกระบวนการออโตโทรฟิกดีไนตริฟิเคชัน โดยทำการทดลองกับน้ำดิบสังเคราะห์ที่เตรียมขึ้นมาจากสารโปแตสเซียมไนเตรต และสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของแบคทีเรียชนิด Thiobacillus denitrificans กำหนดให้ความเข้มข้นของไนเตรตที่ใช้ในการวิจัยประมาณ 25, 50 และ 75 มก.ไนโตรเจน/ล. และกำหนดระยะเวลากักเก็บน้ำของถังเอดี 2 ระดับ คือ 10 และ 20 ชั่วโมง จากผลการทดลอง พบว่า กระบวนการออโตโทรฟิกดีไนตริฟิเคชันในถังกรองเอดี มีประสิทธิภาพในการกำจัดไนเตรตจากน้ำ 100% ภายใต้ทุกสภาวะการทดลองที่กำหนด แต่การกำจัดไนเตรตจากน้ำด้วยกระบวนการดังกล่าวนี้ มีข้อเสียคือ ทำให้มีการเพิ่มขึ้นของปริมาณซัลเฟตและความกระด้างในน้ำ จากผลการทดลองสรุปได้ว่ามีประมาณซัลเฟตเพิ่มขึ้นเฉลี่ยประมาณ 7.32 มก./ล. ต่อปริมาณไนเตรตที่ถูกกำจัด 1 มก.ไนโตรเจน/ล. และมีการเพิ่มปริมาณความกระด้างให้แก่น้ำที่ผ่านระบบฯ จากผลการทดลองพบว่า มีปริมาณความกระด้างของน้ำเพิ่มขึ้นเฉลี่ยประมาณ 5.97 มก./ล. ต่อปริมาณไนเตรตที่ถูกกำจัด 1 มก.ไนโตรเจน/ล. นอกจากนี้ ยังพบว่ากระบวนการออโตโทรฟิกดีไนตริฟิเคชัน ต้องการฟอสเฟตประมาณ 0.004 มก./ล. ต่อปริมาณไนเตรตที่ถูกกำจัด 1 มก.ไนโตรเจน/ล.

Share

COinS