Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิเคราะห์การเรียกชดเชยในงานก่อสร้าง : กรณีศึกษาเขึ่อนเชี่ยวหลาน

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

An analysis of construction clains: A case study of chiew Larn Dam

Year (A.D.)

1992

Document Type

Thesis

First Advisor

วิสุทธิ์ ช่อวิเชียร

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

วิศวกรรมโยธา

DOI

10.58837/CHULA.THE.1992.658

Abstract

การเรียกชดเชยในงานก่อสร้างเป็นการเรียกร้องตามสิทธิของฝ่ายหนึ่ง ต่ออีกฝ่ายหนึ่งของคู่สัญญา แบ่งออกเป็น การเรียกชดเชยโดยผู้รับเหมาต่อเจ้าของงานจากการขอเพิ่มเงินหรือขอต่อเวลา และการเรียกชดเชยโดยเจ้าของงานต่อผู้รับเหมา จากการปรับเนื่องจากงานล่าช้ากว่ากำหนด หรือการแก้ไขงาน ซึ่งผลกระทบจากการเรียกชดเชย คือ ทำให้มีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น งานก่อสร้างล่าช้า และอาจมีการขัดแย้งกันได้ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการวิเคราะห์ การเรียกชดเชยโดยผู้รับเหมาต่อเจ้าของงานเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งสาเหตุการเรียกชดเชยต่อเจ้าของงานที่กำหนดไว้ในเอกสารสัญญาระดับนานาชาตินั้นจะประกอบด้วย การเปลี่ยนแปลงงาน งานเพิ่มเติมการขยายเวลาเสร็จงาน เหตุสุดวิสัย การปรับราคาในสัญญา การเปลี่ยนแปลงเนื้องานและการเรียกชดเชยจากค่าใช้จ่ายพิเศษ เช่น การเร่งงานเป็นต้น จากผลการวิเคราะห์สาเหตุการเรียกชดเชยของโครงการเขื่อนเชี่ยวหลานพบว่า การเรียกชดเชยโดยส่วนใหญ่เกิดจาก การเพิ่มงาน และการเปลี่ยนแปลงงานโดยเจ้าของงาน ซึ่งมีสาเหตุพื้นฐานที่ควรหาทางแก้ไขได้ เช่น การสำรวจและออกแบบบกพร่อง การควบคุมงานบกพร่อง และการเขียนสัญญาไม่ชัดเจน เป็นต้น สำหรับแนวทางในการลดปัญหาจากการเรียกชดเชย กล่าวโดยรวม ก็คือต้องมีการบริหารงานก่อสร้างที่ดีมีประสิทธิภาพ โดยทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องให้ความสำคัญ และศึกษางานให้ดีพอเพื่อป้องกันและแก้ไขการเรียกชดเชยที่อาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุต่างๆ ทุกขั้นตอนของงานก่อสร้าง

Share

COinS