Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ลักษณะการกระจายของฝนเนื่องจากพายุหมุนเขตร้อน ที่ก่อให้เกิดอุทกภัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Rainfall patterns of tropical cyclones causing flood damage in Northeast Thailand

Year (A.D.)

1992

Document Type

Thesis

First Advisor

สุทัศน์ วีสกุล

Second Advisor

สุจริต คูณธนกุลวงศ์

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

วิศวกรรมแหล่งน้ำ

DOI

10.58837/CHULA.THE.1992.648

Abstract

การศึกษานี้มุ่งรวบรวม ศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูลเฉพาะพายุหมุนเขตร้อน และลักษณะการกระจายของฝนที่เกิดจากพายุฯ ตามพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดอุทกภัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงปี พ.ศ. 2519 – พ.ศ. 2533 รวม 15 ปี รวมทั้งศึกษาลักษณะการเกิดอุทกภัยเนื่องจากพายุฯ แต่ละลูก นอกจากนี้จะวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างพายุหมุนเขตร้อน ฝน และการเกิดอุทักภัยในภาค เพื่อต้องการเข้าใจปรากฏการณ์อุทกภัยในอดีตที่ผ่านมา ผลการศึกษา พบว่า จากจำนวนพายุหมุนเขตร้อน 138 ลูก ที่เกิดขึ้นและผ่านเข้ามาบริเวณละติจูดที่ 0-25 องศาเหนือ และลองติจูด 90-115 องศาตะวันออก ซึ่งครอบคลุมคาบสมุทรอินโดจีนและแหลมมลายู ในช่วงเวลาดังกล่าวมีเพียง 23 ลูกที่แนวพายุฯ พาดผ่านพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยตรง และพบว่ามีจำนวนพายุที่ก่อให้เกิดอุทกภัยขึ้นในบางพื้นที่ของภารนี้มี 20 ลูก แยกเป็นพายุฯ ที่แนวพาดผ่านพื้นที่ของภาคโดยตรง และเฉียดเข้ามาใกล้จำนวน 12 ลูก และ 8 ลูก ตามลำดับ คิดเป็นค่าเฉลี่ย 1-2 ลูกต่อปี พายุฯ ที่ก่อให้เกิดอุทกภัยนี้มีการก่อตัวขึ้นในทะเลจีนใต้ และมหาสมุทรแปซิฟิค ในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน คือ ร้อยละ 60 และ 40 ตามลำดับ โดยเดือนสิงหาคมเป็นเดือนที่พายุฯ ก่อตัวขึ้นมากที่สุดถัดไปคือเดือนกันยายนและตุลาคมตามลำดับ และในเดือนกรกฎาคมไม่มีพายุก่อตัวเลย ในการศึกษาสมารถแบ่งแนวการเคลื่อนตัวของพายุฯ ทั้ง 20 ลูกที่ก่อให้เกิดอุทกภัยขึ้นในภาคนี้ออกเป็น 4 แนว ซึ่งก่อให้เกิดการกระจายของฝนตามพื้นที่แตกต่างกันไปทั้งในแง่ปริมาณและลักษณะการกระจายคือแนวพายุกลุ่มที่ 1 มีแนวพาดผ่านบริเวณตอนกลางและค่อนไปทางตอนบนของภาค ซึ่งมักก่อตัวขึ้นในเดือนมิถุนายน แนวพายุกลุ่มที่ 2 มีแนวพาดผ่านและเฉียดเข้ามาใกล้ตอนบนของภาค ซึ่งมักก่อตัวขึ้นในเดือนสิงหาคม แนวพายุกลุ่มที่ 3 มีแนวพาดผ่านบริเวณตอนกลางของภาค ซึ่งมักก่อตัวขึ้นในเดือนกันยายน และแนวพายุกลุ่มที่ 4 มีแนวพาดผ่านและเฉียดเข้ามาใกล้ตอนล่างของภาคมักก่อตัวในเดือนตุลาคม พายุฯ ทำให้เกิดฝนรายวันกระจายในบริเวณต่างๆของภาคในช่วงเวลา 3-5 วัน โดยเริ่มมีฝนตกล่วงหน้าก่อนที่พายุจะเข้าสู่พื้นที่ศึกษาประมาณ 1-2 วัน การกระจายของฝนรวมที่เกิดจากพายุฯ มีความสอดคล้องกับแนวของพายุฯ คือมักมีฝนตกหนักบริเวณใต้แนวของพายุฯ ที่เคลื่อนไป พายุที่ทำให้เกิดแนวฝนรวมเฉลี่ยทั้งภาคอยู่ระหว่าง 35-140 มม. และทำให้เกิดฝนรวมตั้งแต่ 90 มม.ขึ้นไปตกกระจายในพื้นที่ระหว่าง 35-90% ของพื้นที่ทั้งภาค โดยพายุกลุ่มที่ 3 มีแนวโน้มจะให้ฝนได้มากกว่า เนื่องจากแนวพายุฯ พาดผ่านกลางพื้นที่ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างพายุ ฝนและการเกิดอุทกภัยในพื้นที่ศึกษา พบว่าพายุฯ ที่มีความรุนแรงก่อนเข้าสู่ฝั่งมากกว่ามีแนวโน้มทำให้ฝนรวมเฉลี่ยทั้งภาค และพื้นที่ฝนรวมตกเกิน 90 มม. ได้มากกว่าพายุฯ ที่มีความรุนแรงน้อยกว่า

Share

COinS