Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปริมาณตะกั่วในเลือดของเด็กที่พักอาศัยใกล้เคียงโรงหลอมตะกั่ว

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Blood lead of children living near a smelter

Year (A.D.)

1992

Document Type

Thesis

First Advisor

ธรรมนูญ โรจนะบุรานนท์

Second Advisor

สมพูล กฤตลักษณ์

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม

DOI

10.58837/CHULA.THE.1992.612

Abstract

ศึกษาปริมาณตะกั่วในเลือดของเด็กอายุ 3 – 9 ปี โดยประมาณ ที่พักอาศัยอยู่ในโรงหลอมตะกั่ว และที่พักอาศัยอยู่ในชุมชนที่ห่างจากโรงหลอมตะกั่วไม่เกิน 1 กิโลเมตร เปรียบเทียบกับเด็กกลุ่มควบคุม โดยทำการเจาะเลือดแล้ววิเคราะห์โดยวิธี Atomic Absorption Spectrophotometry ประกอบกับการใช้แบบสอบถามเพื่อศึกษาปัจจัยบางประการที่คาดว่าจะมีความสัมพันธ์กับปริมาณตะกั่วในเลือดของเด็ก ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยของปริมาณตะกั่วในเลือดของเด็กในโรงหลอมตะกั่วมีค่าสูงที่สุด รองลงมาคือเด็กที่พักอาศัยอยู่ในชุมชนที่ใกล้โรงหลอมตะกั่ว และเด็กกลุ่มควบคุม ซึ่งเท่ากับ 78.66, 27.81 และ 21.76 ไมโครกรัมต่อเดซิลิตรตามลำดับ ซึ่งเมื่อทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิตินอนพาราเมตริก (Nonparametric Statistics) ก็พบว่าแตกต่างกันทุกกลุ่มที่ระดับนัยสำคัญ .0001 นอกจากนี้ยังพบว่า การที่เด็กพักอาศัยอยู่ในชุมชนที่อยู่ใกล้โรงหลอมตะกั่ว จะทำให้มีความเสี่ยงต่อการมีระดับตะกั่วในเลือดมากกว่า 25 ไมโครกรัมต่อเดซิลิตร สูงเป็น 10 เท่าของเด็กที่พักอาศัยอยู่ในชุมชนที่อยู่ไกลโรงหลอมตะกั่ว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Share

COinS