Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การปนเปื้อนของสารตะกั่วในดินริมถนนบริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Lead contamination of roadside soilsin Bangkok metropolitan area

Year (A.D.)

1992

Document Type

Thesis

First Advisor

เปรมจิตต์ แทนสถิตย์

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม

DOI

10.58837/CHULA.THE.1992.610

Abstract

ศึกษาการปนเปื้อนของสารตะกั่วในดินริมถนนบนถนนและทางหลวงสายต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ ในปี พ.ศ. 2534 วิเคราะห์ปริมาณสารตะกั่วในดินโดยวิธีอะตอมมิค แอบซอร์บชันสเปคโตรโฟโตเมตรี ผลการวิเคราะห์พบว่าปริมาณสารตะกั่วในดินริมถนนที่ศึกษาเฉลี่ยเท่ากับ 490.0 ไมโครกรัมต่อกรัม และมีค่าพิสัยระหว่าง 40.0-2,667.0 ไมโครกรัมต่อกรัม บริเวณที่มีปริมาณสารตะกั่วในดินริมถนนสูงสุดที่พบในการศึกษาครั้งนี้ คือ บริเวณสี่แยกวิทยุ บริเวณที่มีปริมาณสารตะกั่วในดินริมถนนต่ำสุด คือ บริเวณทางหลวงหมายเลข 346 ช่วงที่ 3 และทางหลวงหมายเลข 3215 ช่วงที่ 4 ปริมาณสารตะกั่วในดินริมถนนในกรุงเทพมหานครสูงกว่าปริมาณสารตะกั่วในดินริมถนนในดินริมถนนในเขตปริมณฑล ในกรุงเทพมหานคร บริเวณที่มีปริมาณสารตะกั่วในดินริมถนนสูงสุด คือ บริเวณถนนเพชรบุรี มีค่าเท่ากับ 777.8 ไมโครกรัมต่อกรัม รองลงมาคือบริเวณถนนพระราม 4 เท่ากับ 697.1 ไมโครกรัมต่อกรัม ปริมาณสารตะกั่วในดินริมถนนต่ำสุดอยู่ที่บริเวณถนนเพชรเกษม โดยมีค่าเท่ากับ 47.0 ไมโครกรัมต่อกรัม ส่วนในเขตปริมณฑล และถนนในจังหวัดปทุมธานี โดยมีค่า 482.0 196.8 และ 143 ไมโครกรัมต่อกรัม ตามลำดับ โดยมีบริเวณเขาใหญ่ถือเป็นบริเวณที่มีการปนเปื้อนของสารตะกั่วในดินอยู่ในระดับดินมาตรฐาน คือ 13.0 ไมโครกรัมต่อกรัม ปริมาณสารตะกั่วในดินริมถนนที่ศึกษามีความสัมพันธ์กับปริมาณการจราจรโดยเฉลี่ย 12 ชั่วโมงต่อปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.005) คุณสมบิตดินได้แก่ ค่าพีเอชในดินและปริมาณอินทรียวัตถุในดินต่างก็มีความสัมพันธ์กับปริมาณสารตะกั่วในดินริมถนนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.005)

Share

COinS