Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ผลกระทบระยะยาวของมอร์ฟินไฮโดรคลอไรด์ ต่อฮอร์โมนฮีสตราดิออล, โปรเจสเตอโรน, โปรแลกติน, คอร์ดิซอล ในซีรัม และ พฤติกรรมทางเพศของลิงหางยาว (Macaca fascicularis) เพศเมียที่โตเต็มวัย

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Long term influence of morphine hydro-chloride upon serum levels of E2 P, PRL, cortisol and sexual behaviours in adult female cynomolgus monkeys (Macaca fascicularis)

Year (A.D.)

1992

Document Type

Thesis

First Advisor

พุฒิพงศ์ วรวุฒิ

Second Advisor

อุษณีย์ ยศยิ่งยวด

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาเอก

Degree Discipline

วิทยาศาสตร์ชีวภาพ

DOI

10.58837/CHULA.THE.1992.501

Abstract

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของระดับฮีสตราดิออล | โปรเจสเตอโรน | โปรแลกติน และคอร์ติซอล ในซีรั่ม พฤติกรรมทางเพศ และ metabolic turnover ของมอร์ฟีนระหว่างรอบเดือนปกติ และ 2) ติดตามการเปลี่ยนแปลงระหว่างฉีดมอร์ฟีนไฮโดรคลอไรด์อย่างต่อเนื่องและภายหลัง จากหยุดให้ยา ในลิงหางยาวเพศเมียที่โตเต็มวัยผลการฉีดมอร์ฟีนขนาด 0.1-3.2 มก.กก./วัน เข้าใต้ผิวหนังลิงจำนวน 17 ตัว นาน 100-143 วัน พบว่า ค่า turnover rate ของกลุ่มลิงที่ได้รับมอร์ฟีนขนาด 0.1-0.8 มก./กก./วัน ไม่แตกต่างจากช่วงก่อนได้รับยา ลิงในกลุ่มที่ได้รับมอร์ฟีนขนาด 0.4 มก./กก./วัน หรือมากกว่าจะมีระดับโปรแลกตินเพิ่มขึ้นสูงขึ้นทันทีที่ได้รับยา ส่วนระดับคอร์ติซอลจะลดต่ำลงอย่างชัดเจน ในช่วงกลางและท้ายของการให้มอร์ฟีน พฤติกรรมทางเพศลดต่ำลง รอบประจำเดือนยาวขึ้น ระดับฮีสตราดิออลและโปรเจสเตอโรนในซีรั่มลดลง ค่า turnover rate ของมอร์ฟีนในลิงกลุ่มที่ได้รับมอร์ฟีนขนาด 1.6 และ 3.2 มก./กก./วัน จะลดลงอย่างชัดเจน และถึง steady state ในวันที่ 80 และ 45 ของการได้รับมอร์ฟีน ตามลำดับ กลุ่มลิงที่ได้รับมอร์ฟีนขนาด 3.2 มก./กก./วัน ทุกตัวจะขาดประจำเดือน อยู่ในภาวะ hyperprolactinemia และเกิด spontaneous galactorrheaเมื่อหยุดให้มอร์ฟีนระดับโปรแลกตินในซีรั่มจะลดลงสู่ปกติได้ภายใน 3 วัน ในขณะที่ค่า turnover rate ของมอร์ฟีนจะกลับสู่ระดับปกติภายใน 1 เดือน แต่ระดับคอร์ติซอลในลิงบางตัวยังไม่สามารถกลับสู่ระดับปกติได้ภายใน 3 เดือนที่ติดตามศึกษาจากผลการศึกษาสรุปได้ว่า 1) มอร์ฟีนอาจมีผลกระตุ้นการสร้าง และ/หรือการหลั่งโปรแลกตินได้โดยตรงที่ต่อมใต้สมอง 2) มอร์ฟีนอาจมีผลหลายระดับในการควบคุม hypothalamic-pituitary adrenocortical axis 3) ระดับฮีสตราดิออล | โปรเจสเตอโรน และคอร์ติซอลในเลือดอาจเป็นปัจจัยสำคัญในการควบคุมการเกิด spontaneous galactorrhea ขณะที่อยู่ในภาวะ hyperprolactinemia

Share

COinS