Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการเลือกสถานศึกษาสำหรับบุตรของผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในภาคกลาง : การวิเคราะห์เส้นทาง
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Causal relationships on variables influencing parents' school choice for lower secondary education students in the central region : a path analysis
Year (A.D.)
1992
Document Type
Thesis
First Advisor
นิศา ชูโต
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
วิจัยการศึกษา
DOI
10.58837/CHULA.THE.1992.305
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง และทดสอบตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปร เกี่ยวกับ ภูมิหลังของผู้ปกครองและตัวแปร เกี่ยวกับนักเรียน ที่มีอิทธิพลต่อการเลือกสถานศึกษาสำหรับบุตรของ ผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในภาคกลาง โดยใช้กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 ปีการศึกษา 2534 ที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านที่มีโรงเรียนโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตั้งอยู่ในภาคกลางจานวน 417 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสัมภาษณ์ชนิดมี โครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เส้นทาง ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. ตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุตามสมมุติฐานยังไม่สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2. ตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อย่างมี นัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 (P < 0.5) มีลักษณะดังนี้ 2.1 ตัวแปรที่มีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการเลือกสถานศึกษาสาหรับบุตรของ ผู้ปกครองคือ รายได้ของผู้ปกครอง ความคาดหวังของผู้ปกครอง เกี่ยวกับระดับการศึกษาสูงสุดของบุตร ระดับผลการเรียน เดิมของบุตร และสถานศึกษาที่บุตรต้องการ เข้าเรียน 2.2 ตัวแปรที่มีผลกระทบทางตรงต่อการเลือกสถานศึกษาสถานศึกษาสำหรับบุตรของ ผู้ปกครอง คือ ความคาดหวัง เกี่ยวกับอรรถประโยชน์ของสถานศึกษา 2.3 ตัวแปรที่มีผลกระทบทางอ้อมต่อการเลือกสถานศึกษาสำหรับบุตรของผู้ปกครอง คือ ระดับการศึกษาของผู้ปกครอง ขนาดพื้นที่ถือครองที่มีกรรมสิทธิ์ ความต้องการศึกษาต่อชั้นสูงสุดของบุตร เจตคติของผู้ปกครองต่อการศึกษาต่อ จานวนบุตรที่ เรียนสูงกว่าการศึกษาภาคบังคับ ความต้องการใช้ แรงงานจากบุตร และขนาดครอบครัว 3. ตัวแปรที่มีปริมาณผลกระทบทางตรงต่อการเลือกสถานศึกษาสำหรับบุตรของผู้ปกครองสูงสุด คือ ความคาดหวังเกี่ยวกับอรรถประโยชน์ของสถานศึกษา (.9565) รองลงมาคือ สถานศึกษาที่บุตร ต้องการเข้าเรียน (.7314) 4. ตัวแปรที่มีปริมาณผลกระทบทางอ้อมต่อการเลือกสถานศึกษาสำหรับบุตรของผู้ปกครองสูงสุด คือ รายได้ของผู้ปกครอง (.9784) รองลงมาคือ ระดับผลการเรียน เดิมของบุตร (.7800) 5. ตัวแปรที่มีปริมาณผลกระทบรวมต่อการ เลือกสถานศึกษาสำหรับบุตรของผู้ปกครองสูงสุด คือ รายได้ของผู้ปกครอง (1.6372) รองลงมาคือ ความคาดหวังของผู้ปกครองเกี่ยวกับระดับการศึกษา สูงสุดของบุตร (1.1382) ส่วนตัวแปรที่มีปริมาณผลกระทบรวมต่ำสุด คือ ขนาดครอบครัว (-.0650)
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
แกมเกตุ, วรรณี, "ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการเลือกสถานศึกษาสำหรับบุตรของผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในภาคกลาง : การวิเคราะห์เส้นทาง" (1992). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 36329.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/36329