Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ จากการเลือกตัวทำนายเข้าสู่สมการแบบไปข้างหน้า ถอยหลัง และขั้นบันไดเมื่อความสัมพันธ์ระหว่างตัวทำนายแตกต่างกัน

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

A Comparision of multiple regression analysis results when predictors are selected to the equation by forward backward and stepwise methods with different intercorrelations among predictors

Year (A.D.)

1992

Document Type

Thesis

First Advisor

ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

ครุศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

วิจัยการศึกษา

DOI

10.58837/CHULA.THE.1992.303

Abstract

วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้คือ 1. เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยและความแปรปรวนของค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณกำลังสอง (R2) ที่ได้จากเทคนิควิธีการคัดตัวแปรทำนาย เข้าสู่สมการถดถอย 3 วิธีคือ การเลือกตัวแปรแบบไปข้างหน้า (Forward Selection) การกำจัดตัวแปรแบบถอยหลัง (Backward Elimination) และการถดถอยแบบขั้นบันได (Stepwise Regression) เมื่อตัวแปรทำนายมีความสัมพันธ์ในระดับเดียวกัน 2. เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยและความแปรปรวนของ R2 ที่ได้จากวิธีคัดตัวแปรวิธีเดียวกัน เมื่อตัวแปรทำนายมีความสัมพันธ์ในระดับต่างๆ 3. เพื่อเปรียบเทียบร้อยละของตัวแปรทำนายที่ถูกคัดเข้าสมการในอันดับต่าง ๆ ด้วยวิธีการคัดตัวแปรแบบไปข้างหน้า (Forward Selection) และการถดถอยแบบขั้นบันได (Stepwise Regression) เมื่อตัวแปรทำนายมีความสัมพันธ์ในระดับเดียวกัน ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทำนาย คือ (0.00-0.30) (0.30-0.80) และ (0.80-1.00) ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทำนายกับตัวพยากรณ์คือ (0.30-1.00) ตัวแปรทำนายมี 5 ตัว กลุ่มตัวอย่างมีขนาด 10 เท่าของตัวแปรทำนาย โดยใช้เทคนิคมอนติคาร์โลซีมูเลชั่นทำการทดสอบสถานการณ์ละ 200 ครั้ง ผลการวิจัยพบว่า 1. เมื่อความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทำนายอยู่ในระดับเดียวกัน ค่าเฉลี่ยของ R2 ที่ได้จาก 3 วิธี มีค่าเกือบเท่ากัน แตกต่งกันอย่างไม่มีนัยสำคัญที่ α = 0.05 ความแปรปรวนของ R2 มีค่าต่ำ และใกล้เคียงกัน 2. เมื่อความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทำนายอยู่ในระดับต่างกัน ค่าเฉลี่ยของ R2 ที่ได้จากวิธีคัดตัวแปรวิธีเดียวกัน มีค่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ α = 0.05 ความแปรปรวนของ R2 มีค่าต่ำและใกล้เคียงกัน 3. ตัวแปรทำนายที่ถูกคัดเข้าสมการในอันดับต่างๆ จากวิธีการคัดตัวแปรแบบไปข้างหน้า (Forward Selection) และวิธีถดถอยแบบขั้นบันได (Stepwise Regression) เมื่อตัวแปรทำนายมีความสัมพันธ์ในระดับเดียวกัน จะคล้ายคลึงกัน และมีร้อยละในการเข้าสมการในแต่ละอันดับใกล้เคียงกัน

Share

COinS