Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และความสามารถทางการคำนวณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่สองที่มีแบบการเรียนต่างกัน

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

A comparison of mathematics problem solving ability and computation ability of mathayom suksa two students with different learning styles

Year (A.D.)

1992

Document Type

Thesis

First Advisor

สุวัฒนา อุทัยรัตน์

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

ครุศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

มัธยมศึกษา

DOI

10.58837/CHULA.THE.1992.257

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และความสามารถทางการคำนวณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่สอง ที่มีแบบการเรียนต่างกัน และเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และความสามารถทางการคำนวณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่สอง ที่มีแบบการเรียนต่างกัน ตัวอย่างประชากรเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่สอง ปีการศึกษา 2534 จำนวน 378 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จากโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาในกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์มีค่าความเที่ยง 0.93 แบบทดสอบความสามารถทางการคำนวณมีค่าความเที่ยง 0.92 และแบบสำรวจแบบการเรียนซึ่งดัดแปลงมาจากแบบสำรวจแบบการเรียนของคอล์บ (Kolb) มีค่าความเที่ยง 0.91 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวผลการวิจัยพบว่า1.นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่สองที่เป็นตัวอย่างประชากรมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สูงสุดคือ กลุ่มที่มีแบบการเรียนแบบคิดอเนกนัย รองลงมาคือ กลุ่มที่มีแบบคิดเอกนัยแบบปรับปรุง และแบบดูดซึมตามลำดับ และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่สองที่เป็นตัวอย่างประชากรมีความสามารถทางการคำนวณสูงสุดคือ กลุ่มที่มีแบบการเรียนแบบดูดซึม รองลงมาคือ กลุ่มที่มีแบบคิดอเนกนัย แบบปรับปรุง และแบบคิดเอกนัย ตามลำดับ2.นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่สองที่มีแบบการเรียนแบบคิดอเนกนัย แบบดูดซึม แบบคิดเอกนัยและแบบปรับปรุงมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่สองที่มีแบบการเรียนแบบคิดอเนกนัย แบบดูดซึม แบบคิดเอกนัย และแบบปรับปรุง มีความสามารถทางการคำนวณไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Share

COinS